กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ"ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ" ประจำปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

ชมรมรักสุขภาพตำบลตะลุโบะ

1. นางสาวซัยนับกาเกาะ
2. นายสมันสาเมาะ
3. นางสาวกอฟเซาะ สอเฮาะ
4. นางสาวมารีแยราโมง
5. นางกาสมาอับดุลกาเดร์

องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลตะลุโบะกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากปัจจัยการลดลงของอัตราเกิดและ อายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่ยืนยาวขึ้นขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็มีอายุยืนยาวขึ้นอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบัน สูงกว่าของประชากรโดยรวมขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุวัยปลายก็สูงกว่าอัตราการเพิ่มของกลุ่มผู้สูงอายุวัยตอนต้นมีผลให้จำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุวัยตอนปลายปัญหาการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้าแม้จะมีอายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไป ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติแต่สภาพจิตใจ ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพ เมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต
การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัย ที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากวัยทำงาน หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการ เป็นอย่างดี ซึ่งความต้องการพลังงานและสารอาหารในผู้สูงอายุแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน ทั้งนี้พบว่าผู้สูงอายุได้รับอาหารที่ยังไม่ถูกตามหลักโภชนาการซึ่งเป็นอาหารที่เข้าไปสู่ร่างกายแล้วทำให้มีการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นการได้อาหารที่จำเป็นเพียงพอและถูกสัดส่วนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของผู้สูงอายุ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงเพราะเซลล์ต่างๆของร่างกายเสื่อมสภาพและโรคที่พบมากในผู้สูงอายุคือโรคกระดูกพรุน สาเหตุหลักเกิดจากการดูดซึมของแคลเซียมในผู้สูงอายุลดลงและได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อยในแต่ละวัน
ชมรมรักสุขภาพตำบลตะลุโบะ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโภชนาการให้กับผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพของตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการที่เหมาะสม

ร้อยละ ๘0  ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้
ความเข้าใจการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโภชนาการ

0.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องสมุนไพร การนวดตนเองและการประคบที่ถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสมุนไพร การนวดตนเอง และการประคบที่ถูกต้อง

0.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถผลิตและใช้ลูกประคบสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการ    ทำลูกประคบ

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง -การดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ -ยาและผลิตภัณฑ์และการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่ถูกต้องและปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง -การดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ -ยาและผลิตภัณฑ์และการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่ถูกต้องและปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร  1  คน 3 ช.ม.ๆ  ละ  ๖๐๐.-บาท 
                                              เป็นเงิน  1,8๐๐.-บาท
  • ค่าวิทยากรกระบวนการ  ๒  คนๆ 3 ช.ม.ๆ  ละ  2๐๐.-บาท                                 เป็นเงิน 1,2๐๐.-บาท
    -  ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 5๐  คนๆละ  ๕๐.-บาท                              เป็นเงิน  2,5๐๐.-บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 5๐ คนๆ ๒  มื้อๆละ  ละ ๓๕ บาท                            เป็นเงิน  3,5๐๐.-บาท -  ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด  กว้าง 1 เมตร  ยาว 3  เมตร  จำนวน  ๑  ผืน                        เป็นเงิน     ๙๐๐.-บาท -  ค่าแผ่นพับ 50 ใบๆ ละ 2 บาท  เป็นเงิน  1๐๐.-บาท -  ค่าคู่มือสำหรับการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่ถูกต้องและปลอดภัย 50 เล่ม เล่มละ 50.-บาท
                                               เป็นเงิน 2,500.-บาท -  ค่าคู่มือยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 50 เล่ม เล่มละ 50.-บาท
                                                เป็นเงิน 2,500.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์                        เป็นเงิน  5,0๐๐.-บาท                                          เป็นเงิน  20,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง และการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่ถูกต้องและปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 นันทนาการบำบัด

ชื่อกิจกรรม
นันทนาการบำบัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร  1  คน 3 ช.ม.ๆ  ละ  ๖๐๐.-บาท   
                                         เป็นเงิน 1,8๐๐.-บาท
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 5๐ คนๆ 1  มื้อๆละ  ละ ๓๕ บาท                          เป็นเงิน  1,75๐.-บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์                     เป็นเงิน  5,0๐๐.-บาท                                         เป็นเงิน   8,๕5๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม


>