กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1. นางชนิศา ไชยประดิษฐ
2. นางสาวประนมพรจุลลา

๑. พื้นที่หมู่ ๒, หมู่ ๔, หมู่ ๕ และหมู่ ๘ ตำบลปาเสมัส ๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพประชาชนส่วนใหญ่ในอดีตจะเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ปัจจุบัน ปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อได้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน ซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพเป็นอย่างมาก ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่มีผลมาจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของตัวเองได้แก่ การดื่มสุรา,การใช้สารเสพติด เพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล การมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และขาดการออกกำลังกาย จึงก่อทำให้เกิดโรคแทรกช้อน เช่น ทาง ตา ไต และ เท้า บางคนร่างกายพิการหรือบางรายถึงกับเสียชีวิต ปี ๒๕๖5 อำเภอสุไหงโก-ลก มีประชากรทั้งหมด 55, 684 คน มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 2,628 คน อัตราป่วย ๓,๕๘๖.๖๐ ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยโรคความคันโลหิตสูง 6,441 คน คิดเป็นอัตราป่วย ๘,๔๓0.๓ ต่อแสนประชากร และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ปี ๒๕๖5 มีประชากรในเขตรับผิดขอบทั้งหมด 10,702 คน มีผู้ป่วยเบาหวาน 429 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๔๕.๙๑ ต่อแสนประชากร และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 879 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๙๔.๐๗ต่อแสนประซากร จากข้อมูลตังกล่าวทำให้ทราบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบ มีแนวโน้มจะป่วยสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข(เกณฑ์๒๓ ต่อประชากรแสนคน)จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ตำบลปาเสมัส ต้องเร่งรัดดำเนินการ และส่งเสริมให้ประชาชน สนใจในการดูแลสุขภาพของตัวเองและลดปัจจัยเสี่ยง อาหารรส หวาน มัน เค็ม ที่มีผลต่อสุขภาพตัวเอง โดยส่งเสริมกิจกรรม ๓ อ. ๒ ส. 1 ฟ.และ 1 น. เพิ่มกินผักผลไม้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาเสมัสจึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการดำเนินงานตามนโยบายให้ต่อเนื่อง และให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง เป็นการลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน อันจะส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีสุขภาพดี ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ดีมีค่า HBA๑C ≤ ๗ และในโรคความดันโลหิตสูงสามรถควบคุมความดันโลหิตได้ไม่เกิน 140/90 mmHg

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 4 รุ่นๆละ 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 4 รุ่นๆละ 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
    จำนวน  60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 4 รุ่นๆละ 1 วัน    เป็นเงิน 12,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน  60 คนๆละ  1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 4 รุ่นๆละ 1 วัน           เป็นเงิน 12,000   บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่มๆละ 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 4 รุ่นๆละ 1  วัน                                                                           เป็นเงิน 19,200 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย  จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 4 รุ่นๆละ 1 วัน
                                        เป็นเงิน  4,800 บาท
  • ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 x 3 ม. จำนวน 1 แผ่นๆละ 750 บาท  เป็นเงิน  750  บาท
  • สมุดปกแข็ง  จำนวน 50 เล่มๆละ 10 บาท จำนวน 4 รุ่น                   เป็นเงิน  2,000 บาท
  • ปากกา จำนวน 50 ด้ามๆละ 5 บาท  จำนวน 4 รุ่น                         เป็นเงิน  1,000 บาท รวมเป็นเงิน 51,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  หลังเข้าโครงการมีสุขภาพดีขึ้น  สามารถเปลี่ยนแปลงและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51750.00

กิจกรรมที่ 2 การตรวจคัดกรองสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลจำนวน ๑๐ กล่องๆละ ๒๕๐ บาท                     เป็นเงิน  2,500 บาท
  • ค่าอุปกรณ์การเจาะเลือด จำนวน ๓ กล่องๆละ ๑๒๐ บาท                       เป็นเงิน  ๓๖๐  บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน ๒๐ เครื่อง เครื่องละ  ๒,๕๐๐ บาทหมู่ๆ ละ  5 เครื่อง

    เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน 52,860 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  หลังเข้าโครงการมีสุขภาพดีขึ้น  สามารถเปลี่ยนแปลงและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52860.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 104,610.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงหลังเข้าโครงการมีสุขภาพดีขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้


>