กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน โดยแกนนำในชุมชนตำบลปูยุด ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1.นางสาวแวบีเดาะ เจะอุบง
2.นางสาวดรุณีจูนิ
3.นางนิฮสานะห์โตะกูบาฮา
4.นางสาวซากีนะห์กาเซ็งอีแต
5.นางสาวสุรณีมะสารี

ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพมาเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบการแพทย์ที่เกิดจากการเรียนรู้การสะสมความรู้ ประสบการณ์การถ่ายทอด และการผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่นและระบบการแพทย์อื่นที่เข้ามาสู่สังคมไทย ในสมัยต่าง ๆ จนกลายมาเป็นระบบการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยเน้นความสมดุลของธาตุภายในร่างกายและความสมดุลภายในจิตใจเมื่อทบทวนกระแสพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอดีพอควรสมเหตุสมผลและมีความสมดุลเพื่อความสุขและสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสมเหตุสมผลมีภูมิคุ้มกันพึ่งพิงดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้ยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทยโดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญา เช่นการใช้อาหารพืชผักผักสมุนไพร การนวดพื้นฐาน ในการประคบการนวดฝ่าเท้าการบริหารด้วยท่าฤๅษีตัด มาปฏิบัติดูแลสุขภาพคนในครัวเรือนก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่
จะทำให้ครอบครัวมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยในอดีตมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ย่าตา ยาย ก็มีการใช้ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคนได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีทั้งยังไม่มีอาการข้างเคียงและยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนี้การนวดประคบสมุนไพร การนวดเท้าและการรับประทานอาหารตามหลักธาตุเจ้าเรือนนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในครัวเรือน ก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดทำให้เกิดสายใยรักอบอุ่น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีด้วย ชมรมอาสาสมัครสาธรณสุขตำบลปุยุด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อสุขภาวะที่ดีในการส่งเสริมชุมชนผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการดูแลสุขภาพในชุมชนวีถีความพอเพียงอยู่แล้ว การทำโครงการนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเชื่อมโยงคนในชุมชนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นและเป็นการเสริมสร้างจริยธรรมและรักษาวัฒนธรรมไทยเป็นกระบวนการสร้างความรักเอาใจใส่ ส่งเสริมสร้างวีถีครอบครัวอบอุ่นสังคมเข้มแข็งได้ยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รู้จักสถานะด้านสุขภาพของตนเอง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในสถานะสุขภาพของตนเองมากขึ้น ร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีแนวทางการดูแลสุขภาพทางเลือก เพิ่มขึ้น

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความเข้าใจ และเลือกแนวทางการดูแลสุขภาพทางเลือก เป็นแนวทางเสริมในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50

50.00
3 3. กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ นำมาซึ่งระดับความเสี่ยงลดลง

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีผลให้ระดับความเสี่ยงลดลง สู่ภาวะปกติ ร้อยละ 30

30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/04/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุยุด- สมาชิกชมรมแพทย์แผนไทย - ตัวแทนชาวบ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุยุด- สมาชิกชมรมแพทย์แผนไทย - ตัวแทนชาวบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 300 บ. * 1 คน * 4 ชม. = 1,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. * 100 คน = 7,000 บ.
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ.* 100 คน = 3,000 บ.
  • ค่าวัสดุ แฟ้ม/สมุด/ปากกา แก่ผู้เข้าร่วมอบรม = 5,000 บ.
  • ค่าไวนิล ขนาด 31.5 ม. 300 บ. = 1,350 บ.
  • ค่าวัสดุในการอบรมฯ (กระดาษสี / การะดาษบรูฟ / ปากกาเคมี 2 หัว / กระดาษกาว ) = 2,000 บ.

รวมเป็นเงิน 19,550 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 เมษายน 2566 ถึง 17 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนวทางการแพทย์ทางเลือก และสามารถนำความรู้ ความสามารถไปใช้ดูแลบุคคลรอบข้าง ที่มีความเสี่ยงต่อไปได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19550.00

กิจกรรมที่ 2 2. สมาชิกชมรมแพทย์แผนไทยจัดทำแผนออกเยี่ยมบ้าน- และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(ที่ควบคุมตนเองไม่ได้) ,ผู้สูงอายุ(กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง)

ชื่อกิจกรรม
2. สมาชิกชมรมแพทย์แผนไทยจัดทำแผนออกเยี่ยมบ้าน- และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(ที่ควบคุมตนเองไม่ได้) ,ผู้สูงอายุ(กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. * 1 มื้อ 100 คน = 7,000 บ.
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ.*2 มื้อ จำนวน 100 คน = 6,000 บ.

รวมเป็นเงิน 13,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการดูแลสุขภาพตนเอง และคนรอบข้าง เพื่อให้เกิดความตระหนัก และ แนวทางการดูแลสุขภาพที่ต่อยอดได้ต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 3 3. ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3. ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามผล การลงพื้นที่ของ สมาชิกชมรมแพทย์แผนไทยจัดทำแผนออกเยี่ยมบ้าน 2.สรุปผลการดำเนินงานของการจัดทำโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีทางเลือกในการรักษาตน
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจสรรพคุณของสมุนไพรและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทย
3.ผู้ป่วยรู้จักการนวดแบบ


>