กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน โดยแกนนำในชุมชนตำบลปูยุด ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3017-02-0
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 17 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 32,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวบีเดาะ เจะอุบง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดรุณี จูนิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพมาเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบการแพทย์ที่เกิดจากการเรียนรู้การสะสมความรู้ ประสบการณ์การถ่ายทอด และการผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่นและระบบการแพทย์อื่นที่เข้ามาสู่สังคมไทย ในสมัยต่าง ๆ จนกลายมาเป็นระบบการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยเน้นความสมดุลของธาตุภายในร่างกายและความสมดุลภายในจิตใจเมื่อทบทวนกระแสพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอดีพอควรสมเหตุสมผลและมีความสมดุลเพื่อความสุขและสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสมเหตุสมผลมีภูมิคุ้มกันพึ่งพิงดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้ยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทยโดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญา เช่นการใช้อาหารพืชผักผักสมุนไพร การนวดพื้นฐาน ในการประคบการนวดฝ่าเท้าการบริหารด้วยท่าฤๅษีตัด มาปฏิบัติดูแลสุขภาพคนในครัวเรือนก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ จะทำให้ครอบครัวมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยในอดีตมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ย่าตา ยาย ก็มีการใช้ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคนได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีทั้งยังไม่มีอาการข้างเคียงและยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนี้การนวดประคบสมุนไพร การนวดเท้าและการรับประทานอาหารตามหลักธาตุเจ้าเรือนนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในครัวเรือน ก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดทำให้เกิดสายใยรักอบอุ่น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีด้วย ชมรมอาสาสมัครสาธรณสุขตำบลปุยุด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อสุขภาวะที่ดีในการส่งเสริมชุมชนผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการดูแลสุขภาพในชุมชนวีถีความพอเพียงอยู่แล้ว การทำโครงการนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเชื่อมโยงคนในชุมชนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นและเป็นการเสริมสร้างจริยธรรมและรักษาวัฒนธรรมไทยเป็นกระบวนการสร้างความรักเอาใจใส่ ส่งเสริมสร้างวีถีครอบครัวอบอุ่นสังคมเข้มแข็งได้ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รู้จักสถานะด้านสุขภาพของตนเอง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในสถานะสุขภาพของตนเองมากขึ้น ร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีแนวทางการดูแลสุขภาพทางเลือก เพิ่มขึ้น

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความเข้าใจ และเลือกแนวทางการดูแลสุขภาพทางเลือก เป็นแนวทางเสริมในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50

50.00
3 3. กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ นำมาซึ่งระดับความเสี่ยงลดลง

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีผลให้ระดับความเสี่ยงลดลง สู่ภาวะปกติ ร้อยละ 30

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,550.00 0 0.00
28 เม.ย. 66 - 17 ก.ย. 66 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุยุด- สมาชิกชมรมแพทย์แผนไทย - ตัวแทนชาวบ้าน 0 19,550.00 -
1 พ.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 2. สมาชิกชมรมแพทย์แผนไทยจัดทำแผนออกเยี่ยมบ้าน- และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(ที่ควบคุมตนเองไม่ได้) ,ผู้สูงอายุ(กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง) 0 13,000.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 3. ประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจสรรพคุณของสมุนไพรและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทย 3.ผู้ป่วยรู้จักการนวดแบบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 00:00 น.