กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดตามผู้ป่วยวัณโรค ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุข สาเหตุที่ทำให้วัณโรคกลับมามีใหม่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ความยากจน การอพยพย้ายถื่นและแรงงานเคลื่อนย้าย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่งผลให้การแพร่ระบาดของวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มมาก สาเหตุส่วนนึงเกิดจากวัณโรคเป็นโรคที่ปรากฏอาการช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในชุมชน และเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขล่าช้า หรือบางราย เข้าไม่ถึงระบบบริการแล้ว ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ทำให้แพร่กระจายเชื้อในชุมชน ดังนั้นจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
พื้นที่ตำบลสะเตงนอก เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรควัณโรคมาอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีปัญหาการระบาดของโรควัณโรคมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากการดำเนินงานคัดกรองวัณโรคในประชาชนในเขตรับผิดชอบ พบว่า ในปี 2565 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 12 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว จำนวน 2 คน เล็งเห็นได้ว่าโรคนี้ส่งผลอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จึงมี
ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในชุมชน โดยการมี
ส่วนร่วมชุมชน ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในชุมชน อันส่งผลต่อการแพร่ระบาดของวัณโรคในชุมชน ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องจนครบการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดตามผู้ป่วยวัณโรค ประจำปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและสังเกตอาการที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค

 

0.00
2 เพื่อใช้เทคโนโลยีในการติดตามผู้ป่วยวัณโรค

 

0.00
3 เพื่อใช้ในการติดตามกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ให้ได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 124
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 40 คน X 75 บาท x 1 มื้อ X 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 40 คน X 35 บาท x 2 มื้อ X 2 วัน  เป็นเงิน 5,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมติดตามฯ แก่อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมติดตามฯ แก่อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 44 คน X 75 บาท x 1 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 3,300 บาท
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 44 คน X 35 บาท x 2 มื้อ X 1 วัน  เป็นเงิน 3,080 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 500 บาท X 5 ชั่วโมง X 3 วัน เป็นเงิน 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,480.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนป่วยด้วยโรควัณโรคลดลงจากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. กลุ่มเสี่ยงและอสม.มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของโรควัณโรค
3. อสม.สามารถใช้โปรแกรมเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรควัณโรคได้


>