กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดตามผู้ป่วยวัณโรค ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูไวรียะ ยูนุ๊
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 124 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุข สาเหตุที่ทำให้วัณโรคกลับมามีใหม่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ความยากจน การอพยพย้ายถื่นและแรงงานเคลื่อนย้าย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่งผลให้การแพร่ระบาดของวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มมาก สาเหตุส่วนนึงเกิดจากวัณโรคเป็นโรคที่ปรากฏอาการช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในชุมชน และเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขล่าช้า หรือบางราย เข้าไม่ถึงระบบบริการแล้ว ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ทำให้แพร่กระจายเชื้อในชุมชน ดังนั้นจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
พื้นที่ตำบลสะเตงนอก เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรควัณโรคมาอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีปัญหาการระบาดของโรควัณโรคมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากการดำเนินงานคัดกรองวัณโรคในประชาชนในเขตรับผิดชอบ พบว่า ในปี 2565 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 12 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว จำนวน 2 คน เล็งเห็นได้ว่าโรคนี้ส่งผลอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในชุมชน โดยการมี ส่วนร่วมชุมชน ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในชุมชน อันส่งผลต่อการแพร่ระบาดของวัณโรคในชุมชน ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องจนครบการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดตามผู้ป่วยวัณโรค ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและสังเกตอาการที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค

 

0.00
2 เพื่อใช้เทคโนโลยีในการติดตามผู้ป่วยวัณโรค

 

0.00
3 เพื่อใช้ในการติดตามกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ให้ได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,480.00 2 25,480.00
4 - 5 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง 0 11,600.00 11,600.00
4 - 6 ก.ย. 66 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมติดตามฯ แก่อสม. 0 13,880.00 13,880.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนป่วยด้วยโรควัณโรคลดลงจากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
  2. กลุ่มเสี่ยงและอสม.มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของโรควัณโรค
  3. อสม.สามารถใช้โปรแกรมเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรควัณโรคได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 11:01 น.