กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู

1.นางสาวรัชนีเอ็มเล่ง
2.นางสาวเจ๊ะหยนปองแท้
3.นางสาวปันโสตา
4.นางไพรินทร์ยอมรัญจวน
5.นางรอจิ นิละ

ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต ช่วงอายุ 2-5 ปี เป็น “โอกาสทอง” ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและ
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของเด็กในชุมชน เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องร่วมใจ ให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ทั้งในส่วนของครอบครัว ร้านอาหาร ตลาด ที่มีการผลิตและสนับสนุนอาหารดี สุขภาพดี ชีวิตเป็นสุขในกลุ่มเด็กเล็กมื้อเช้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต และพัฒนาการในทุกๆด้านของชีวิต เมื่อเด็กวัยนี้ได้รับการเลี้ยงดูทางกายและจิตใจอย่างถูกต้อง อาหารและโภชนาการที่เหมาะสม เป็นปัจจัย ที่สำคัญ ในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ซึ่งอยู่ในเขตบริการทั้งหมด 5 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3
หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 18มีนักเรียนรวมทั้งหมด 57 คนจากการสำรวจภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แล้วนำมาแปรผลทุก 3 เดือน พบเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 22 คน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 20 คน น้ำหนักเกินเกณฑ์ 2 คนสาเหตุเนื่องจากเด็กรับประทานอาหารที่เป็นขนมขบเคี้ยวแทนอาหารเช้าและผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ไม่มีเวลาต้องเร่งรีบไปทำงานขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กและผู้ปกครองมีรายได้น้อย ดังนั้น ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ปี 2566 ขึ้นเพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้า เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็ก และการปลูกผักสวนครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ลดลง

0.00
2 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัย

0.00
3 ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

0.00
4 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาที/วัน)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. เตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
1. เตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์และเด็กที่มีน้ำหนักเกิน โดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เด็กที่น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่เร่งรีบกับการไปทำงาน จึงไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารเช้าให้กับเด็ก บางครั้งมักจะซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยวให้รับประทานแทนอาหารเช้า สอดคล้องกับสภาพเด็กที่ไม่ชอบทานอาหารเที่ยง เนื่องจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่ไม่เหมือนกับอาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมตามวัย จำนวน 20 คน
กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 2 คน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอโครงการต่อกองศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นนำโครงการดังกล่าวเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยกำหนดงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงู ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะครูเพื่อนำเสนอของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงู

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พบปัญหาเรื่องสุขภาพของเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ครูผู้ดูแลเด็กตรวจประเมินน้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อเป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก
  • จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • ประเมินภาวะโภชนาการ ทุก 1 เดือน งบประมาณ  ที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 ชุดๆละ 1,500 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก ตามหลักโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย แนวทางแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย
-  ครู จำนวน 5 คน -  ผู้ปกครอง จำนวน 57 คน รายละเอียดงบประมาณ - ค่าป้ายโครงการขนาด ๑.2x๒.๔ เมตร จำนวน 1 ป้าย
เป็นเงิน 346 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 62 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,720บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 62 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8966.00

กิจกรรมที่ 4 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์

ชื่อกิจกรรม
4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์ -ครูผู้ดูแลเด็กจัดเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมและมีประโยชน์กับเด็กที่มีภาวะโภชนาต่ำกว่าเกณฑ์ ทุกวันทำการ -ติดตามและประเมินผลเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการทุกๆ 1 เดือน

- จัดทำอาหารสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 22 คนๆละ 20 บาท จำนวน 8๐ วัน
เป็นเงิน 35,200 บาท - คู่มือสำหรับติดตามเด็ก งบประมาณ  35200  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35200.00

กิจกรรมที่ 5 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว

ชื่อกิจกรรม
5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูและเด็กช่วยกันปลูกผักภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายที่มีประโยชนให้กับเด็กและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กทุกคนภายในศูนย์ฯ โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กมีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบในการดูแลผัก เมื่อผักสามารถรับประทานได้จึงมีการเก็บผักมาปรุงอาหาร เพื่อให้เด็กกินผักที่ปลอดสารพิษโดยการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน - กิจกรรมปลูกผักทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง งบประมาณ - ค่ากระถางต้นไม้ ไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว จำนวน 50 กระถางๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่ากระถางต้นไม้ ไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว
จำนวน 50 กระถางๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าดินปลูก ถุงละ 25 บาท จำนวน 100 ถุง
เป็นเงิน2,500 บาท - ค่าพันธุ์ผักบุ้ง 2 กิโลกรัมๆละ 240 บาท เป็นเงิน 480 บาท - ค่าพันธุ์ผักแบบซอง จำนวน 20 ซองๆละ 25 บาท
เป็นเงิน 500 บาท -ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 1 กระสอบๆละ 850 บาท
เป็นเงิน 850 บาท - เปลือกมะพร้าวสับ จำนวน 5 กระสอบๆละ 70 บาท
เป็นเงิน350 บาท - ค่าสายยางรดน้ำ 5 หุน (1/2 นิ้ว)
ความยาว 15 เมตร กิโลกรัมละ 120 บาท จำนวน 3 กิโลกรัม เป็นเงิน 360 บาท - ค่าบัวรดน้ำ ขนาด 8x10 นิ้ว จำนวน 5 อันๆละ 95 บาท เป็นเงิน 475 บาท - ค่าท่อ pvc ขนาด 1 นิ้ว ความยาว 1 เมตร จำนวน 10 เส้นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้กิจกรรมทางกายที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7515.00

กิจกรรมที่ 6 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย     1. จัดทำตารางการเต้นแอโรบิคขั้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับเด็ก     2. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเต้นแอโรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง งบประมาณ

- ลำโพงล้อลาก 12 นิ้ว พร้อมไมค์ลอย จำนวน 1 เครื่อง
เป็นเงิน  7,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้ทำกิจกรรมทางกายสุขภาะแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,081.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>