กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา รหัส กปท. L5275

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสา
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
3.
หลักการและเหตุผล

สังคมไทยก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็ว จากการเกิดที่มีจำนวนน้อยลง และการเกิดจำนวนหนึ่งไม่เป็นที่ต้องการ ผู้ให้กำเนิดขาดความพร้อม ประชากรวัยทำงาน มีแนวโน้มใช้ชีวิตอยู่เป็นโสดมากขึ้น การมีบุตรจำนวนน้อยเพียงหนึ่งหรือสองคนหรือไม่มีบุตรเลย หญิงวัยเจริญพันธ์มีจำนวนบุตรเฉลี่ยน้อยกว่า ๑.๖ คน ส่งผลให้ประสบปัญหาจำนวนการเกิดหรืออัตราเจริญพันธ์ลดลง รวมถึงปัญหาในด้านของคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย อีกทั้งยังมีการเกิดจากหญิงวัยรุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” (นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐- ๒๕๖๙) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ) และประเทศไทยยังพบอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดประมาณร้อยละ ๘-๑๒ หรือประมาณ ๘๐,๐๐๐ รายต่อปี รวมถึงอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในกลุ่มของแม่อายุ ๑๐ -๑๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ร้อยละ ๑๙.๒, ๑๙.๓ ตามลำดับ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
สถานการณ์การเกิดในจังหวัดสงขลา ข้อมูลจากระบบ Health Data Center (HDC) ในระยะ ๕ ปีที่ผ่านมา พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงวัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕ (ไตรมาส ๔) เท่ากับ ๒๔.๔๘, ๑๘.๓๓, ๑๗.๗๕, ๑๓.๕๐ และ ๑๒.๒๘ ต่อพัน ตามลำดับ และอัตราการคลอดมีชีพในหญิง อายุ10-15 ปี ในปี 2561-2563(ไตรมาส 1) เท่ากับ 0.49, 0.36 และ0.36 ต่อพัน ตามลำดับ ส่วนตำบลทุ่งตำเสาข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ จำนวน ๒๖ ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี จำนวน ๑ รายและอัตราคลอดก่อนกำหนดพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ในปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ เท่ากับร้อยละ ๙.๐๒, ๒.๘๘ และ ๕.๘๓ ตามลำดับ
ดังนั้นการคลอดก่อนกำหนดถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะเป็นสาเหตุการตายของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การคลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ย ๑๒ ล้านคน/ปี การคลอดก่อนกำหนดเป็นการคลอดตั้งแต่อายุครรภ์ ๒๔ สัปดาห์จนถึงการคลอดก่อนอายุครรภ์ ๓๗ สัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารก ทำให้หญิงตั้งครรภ์ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากต้องรับการรักษาด้วยยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการใจสั่น มือสั่น คลื่นใส้อาเจียน ปวดศีรษะและอาจรุนแรงมากจนเกิดภาวะน้ำคั่งความเครียด ซึมเศร้า ในทารกเนื่องจากอวัยวะต่าง ๆยังไม่สมบูรณ์ มีอุณหภูมิร่างกายต่ำ มีภาวะหายใจลำบาก อาจมีภาวะแทรกซ้อน ลำไส้เน่าเปื่อย ภาวะจอตาเจริญผิดปกติหรือโรคปอดเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการตายของทารกแรกเกิด ส่งผลให้ครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี โดยข้อมูลจากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร ระบุว่า ร้อยละ ๕๐-๖๐ ของการคลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้เข้ารับการรักษาล่าช้า เป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มักไม่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออาจมีความพิการแต่กำเนิดเช่นกัน ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์และการเตรียมความพร้อมสตรีก่อนการตั้งครรภ์ในช่วงวัยที่เหมาะแก่การตั้งครรภ์ มีทัศนคติทางบวกก่อนการตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจต่อภาวะการตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีตลอดการตั้งครรภ์ทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมถึงการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวถือเป็นกิจกรรมการบริการที่มีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและสังคม เป็นทั้งการให้กำลังใจ การแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือ และเป็นการสร้างความรัก ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อให้กำลังใจ ด้วยการไปเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เมื่อรู้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เป็นการแสดงความยินดีที่จะมีสมาชิกใหม่ของครอบครัวและชุมชน และเป็นการให้กำลังใจแก่หญิงตั้งครรภ์ สร้างความรักและความอบอุ่นให้เกิดขึ้นระหว่างหญิงตั้งครรภ์และชุมชน ก่อให้เกิดความประทับใจครั้งแรกของหญิงตั้งครรภ์ จำนวนสมาชิกของทีมที่ไปเยี่ยมบ้านไม่จำกัดจำนวน ยิ่งมีจำนวนมาก ยิ่งเกิดความอบอุ่นและประทับใจ (ยุทธนา พูนพานิช สุจริต สุขเวสพงษ์, hpc.go.th) อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๕๒) มาตรา ๕๓ (๑) กำหนดให้เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา๕๐(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ประกอบกับ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มาตรา ๑๐ ระบุให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับสิทธิตามมาตรา ๕ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ รวมถึงหนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข ๐๐๒๓.๖/ว ๑๔๗ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๖ เรื่อง การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด กำหนดแนวทางให้เทศบาลบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่แก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และเป็นไปตามแผนการดำเนินการที่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เห็นชอบในคราวประชุมวาระครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมกันเกรา ๓ สำนักงานเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดให้แก่ประชาชนในชุมชน และเพื่อเยี่ยมบ้านให้กำลังใจในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ให้เกิดความเชื่อมั่นและสามารถพึ่งตนเองในการดูแลตัวเองและทารกที่บ้านได้ ซึ่งถือเป็นด่านแรกของการดูแลสุขภาพ ที่จะทำให้บุคคลเกิดความตระหนักสนใจในการดูแลสุขภาพ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสตรีหลังคลอด เด็ก ครอบครัวและชุมชน ซึ่งส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตขึ้นในท่ามกลางความรัก ความอบอุ่นและความผูกพันธ์ของชุมชน เป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพของชุมชนในอนาคต

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1. เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์ ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการคลอดก่อนกำหนดแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน
    ตัวชี้วัด : ๑. ร้อยละ๘๐ของผู้ผ่านการอบรม มีความรู้ผ่านเกณฑ์ ๒. เกิดกลุ่ม“พี่สอนน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน” อย่างน้อย ๑ กลุ่ม
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. ๒. เพื่อส่งเสริมสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๑๐๐ ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ๓. เพื่อเฝ้าระวังภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบล ทุ่งตำเสา
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๑๐๐ หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาเข้ารับบริการฝากครรภ์ ณ สถานพยาบาล
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ๑) ประชุมคณะทำงาน เพื่อบูรณาการความร่วมมือจัดกิจกรรมในพื้นที่ ร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่, ๗ ภาคีเครือข่ายและสถานศึกษา
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ ครั้ง  เป็นเงิน ๒,๕๐๐.-บาท
    งบประมาณ 2,500.00 บาท
  • 2. ๒) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด
    รายละเอียด
    • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ติดตั้งในชุมชน จำนวน ๑๐ ชุมชน
    • สื่อสปอร์ตประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ
    • แผ่นพับให้ความรู้ จำนวน ๑,๐๐๐ใบ
    • จัดทำสติ๊กเกอร์ไฟมบอร์ด รณรงค์ประชา สัมพันธ์สัญญาญเตือนคลอดก่อนกำหนด สนับสนุนหน่วยบริการในพื้นที่ -ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร x ๔๓๐บาท x ๑๐ผืน เป็นเงิน ๔,๓๐๐.-บาท -ค่าโครงป้าย ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร x ๑๐๐บาท x ๑๐ ผืน  เป็นเงิน ๑,๐๐๐.-บาท -ค่าจ้างทำแผ่นพับ ๑,๐๐๐ใบ x ๘ บาท เป็นเงิน ๘,๐๐๐.-บาท
    • ค่าสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ขนาด ๖๐ x ๖๐ ซม. x ๓ แผ่น x ๑๗๐บาท เป็นเงิน ๒,๑๐๐.-บาท
    งบประมาณ 15,400.00 บาท
  • 3. ๓) กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    รายละเอียด

    เพื่อให้คำแนะนำ ติดตามดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ และติดตาม ค้นหา หญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัด หรือมีภาวะเสี่ยงร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ    ในพื้นที่ ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๖ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ - จัดทำสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ - ขอสนับสนุนจากบริษัท ทักษิณ คอนกรีต จำกัด สำหรับของเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด - ป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ขนาด ๔๐ x ๗๐ ซม. x ๒ ป้าย x ๑๕๐.-บาท  เป็นเงิน ๓๐๐ บาท

    งบประมาณ 300.00 บาท
  • 4. ๔) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหา เรื่อง สารเสพติด โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    รายละเอียด

    การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การป้องกันภาวะการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร และการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ถึง กรกฎาคม ๒๕๖๖ จำนวน ๕ รุ่น ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาการป่าไม้ภาคใต้ ต.ฉลุง   - จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์   - ประสานคณะวิทยากรฝึกอบรม   - จัดทำเกียรติบัตรสำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรม   - จัดเตรียมสถานที่ อาหาร และเอกสารประกอบการฝึกอบรม
      - จัดทำป้าย X Stand สื่อคุมกำเนิด ประกอบกิจกรรมฐานการเรียนรู้ “เรื่องเพศศึกษาในครอบครัว”
    - ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม ๑.๕ x ๓ เมตร x ๑ ผืน เป็นเงิน  ๖๗๕.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร ๒ ชม. ๓๐นาทีx๖๐๐บาท x ๑ คน x ๕ รุ่น    เป็นเงิน ๗,๕๐๐.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรประจำฐาน ๒ คน x ๑ ชม. ๓๐ นาที x ๖๐๐ บาท x ๓ ฐาน x ๕ รุ่น  เป็นเงิน ๒๗,๐๐๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕๘ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ  เป็นเงิน ๑๒,๙๐๐.-บาท - ค่าอาหารกลางวัน ๒๕๘ คน x ๗๐ บาท x ๑ มื้อ เป็นเงิน  ๑๘,๐๖๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ x ๕ รุ่น  เป็นเงิน  ๒,๕๐๐.-บาท - ค่าอาหารกลางวันวิทยากรและเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน x ๗๐บาท x ๕ วัน  เป็นเงิน  ๓,๕๐๐.-บาท - ค่าบำรุงสถานที่ฝึกอบรม ๑,๕๐๐.-บาท x ๕ รุ่น  เป็นเงิน ๗,๕๐๐.- บาท - ค่าเกียรติบัตร ๒๕๘ ใบ ใบละ ๒๐ บาท เป็นเงิน  ๕,๑๖๐.-บาท - ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร เป็นเงิน ๕๐๐.-บาท - ค่าปากกา Permanent ๓ สี ๒ ชุด เป็นเงิน ๒๐๐.-บาท - ค่าสมุด/ปากกา ชุดละ ๒๕ บาท x ๒๕๘ ชุด  เป็นเงิน ๖,๔๕๐.-บาท - ค่าป้ายx stand ขนาด ๖๐x ๑๖๐ ซม. x ๔ แผ่น x ๔๕๐.-บาท  เป็นเงิน ๑,๘๐๐.-บาท

    งบประมาณ 93,745.00 บาท
  • 5. ๕) จัดนิทรรศการส่งเสริมการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ และภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
    รายละเอียด
    • จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์     - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แบบโรลอัพ ๒ อัน     - จัดนิทรรศการให้ความรู้ใน ๔ ประเด็นหลัก
    • ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑.๕ x ๓ เมตร x ๑ ผืน เป็นเงิน  ๖๗๕.- บาท
    • ค่าป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ขนาด ๔๐ x ๗๐ ซม. x ๔ ป้าย x ๑๕๐บาท  เป็นเงิน  ๖๐๐ บาท
    • ค่าป้ายโรลอัพ ขนาด ๘๐ x ๒๐๐ซม. x ๒ อัน x ๑,๕๐๐.-บาท  เป็นเงิน ๓,๐๐๐.-บาท
    • ค่าจัดซื้อน้ำดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๕๐ คน x ๑๐ บาท x ๑ ครั้ง  เป็นเงิน ๕๐๐.-บาท
    งบประมาณ 4,775.00 บาท
  • 6. ๖) กิจกรรมเสวนา หัวข้อ“มุมมองเรื่องเพศของวัยรุ่น ยุคGenerationใหม่ ต่อรูปแบบสุขภาพบนพื้นฐานโลกDigital”
    รายละเอียด

    ” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชน และวัยรุ่นมีส่วนร่วมวางแผนและประเมินผลการให้บริการสุขอนามัยเจริญพันธ์ที่เป็นมิตร เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ
    - ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร x ๑ ผืน เป็นเงิน ๔๓๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑๐๐ คน x ๒๕ บาท    เป็นเงิน ๒,๕๐๐.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรและผู้เข้าร่วมเสวนา ๔ คน x ๒ ชม.x ๖๐๐.-บาท    เป็นเงิน ๔,๘๐๐.-บาท

    งบประมาณ 7,730.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 10 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลทุ่งตำเสา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 124,450.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. กลุ่มเด็กนักเรียนและเยาวชนสังกัดสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา มีความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์ ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการคลอดก่อนกำหนดแก่วัยเจริญพันธ์ ๒. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมให้คำแนะนำและส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ๓. อัตราการคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสาลดลง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา รหัส กปท. L5275

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา รหัส กปท. L5275

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 124,450.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................