กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

ตำบลทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมไทยก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็ว จากการเกิดที่มีจำนวนน้อยลง และการเกิดจำนวนหนึ่งไม่เป็นที่ต้องการ ผู้ให้กำเนิดขาดความพร้อม ประชากรวัยทำงาน มีแนวโน้มใช้ชีวิตอยู่เป็นโสดมากขึ้น การมีบุตรจำนวนน้อยเพียงหนึ่งหรือสองคนหรือไม่มีบุตรเลย หญิงวัยเจริญพันธ์มีจำนวนบุตรเฉลี่ยน้อยกว่า ๑.๖ คน ส่งผลให้ประสบปัญหาจำนวนการเกิดหรืออัตราเจริญพันธ์ลดลง รวมถึงปัญหาในด้านของคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย อีกทั้งยังมีการเกิดจากหญิงวัยรุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” (นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐- ๒๕๖๙) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ) และประเทศไทยยังพบอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดประมาณร้อยละ ๘-๑๒ หรือประมาณ ๘๐,๐๐๐ รายต่อปี รวมถึงอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในกลุ่มของแม่อายุ ๑๐ -๑๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ร้อยละ ๑๙.๒, ๑๙.๓ ตามลำดับ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
สถานการณ์การเกิดในจังหวัดสงขลา ข้อมูลจากระบบ Health Data Center (HDC) ในระยะ ๕ ปีที่ผ่านมา พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงวัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕ (ไตรมาส ๔) เท่ากับ ๒๔.๔๘, ๑๘.๓๓, ๑๗.๗๕, ๑๓.๕๐ และ ๑๒.๒๘ ต่อพัน ตามลำดับ และอัตราการคลอดมีชีพในหญิง อายุ10-15 ปี ในปี 2561-2563(ไตรมาส 1) เท่ากับ 0.49, 0.36 และ0.36 ต่อพัน ตามลำดับ ส่วนตำบลทุ่งตำเสาข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ จำนวน ๒๖ ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี จำนวน ๑ รายและอัตราคลอดก่อนกำหนดพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ในปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ เท่ากับร้อยละ ๙.๐๒, ๒.๘๘ และ ๕.๘๓ ตามลำดับ
ดังนั้นการคลอดก่อนกำหนดถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะเป็นสาเหตุการตายของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การคลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ย ๑๒ ล้านคน/ปี การคลอดก่อนกำหนดเป็นการคลอดตั้งแต่อายุครรภ์ ๒๔ สัปดาห์จนถึงการคลอดก่อนอายุครรภ์ ๓๗ สัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารก ทำให้หญิงตั้งครรภ์ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากต้องรับการรักษาด้วยยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการใจสั่น มือสั่น คลื่นใส้อาเจียน ปวดศีรษะและอาจรุนแรงมากจนเกิดภาวะน้ำคั่งความเครียด ซึมเศร้า ในทารกเนื่องจากอวัยวะต่าง ๆยังไม่สมบูรณ์ มีอุณหภูมิร่างกายต่ำ มีภาวะหายใจลำบาก อาจมีภาวะแทรกซ้อน ลำไส้เน่าเปื่อย ภาวะจอตาเจริญผิดปกติหรือโรคปอดเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการตายของทารกแรกเกิด ส่งผลให้ครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี โดยข้อมูลจากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร ระบุว่า ร้อยละ ๕๐-๖๐ ของการคลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้เข้ารับการรักษาล่าช้า เป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มักไม่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออาจมีความพิการแต่กำเนิดเช่นกัน ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์และการเตรียมความพร้อมสตรีก่อนการตั้งครรภ์ในช่วงวัยที่เหมาะแก่การตั้งครรภ์ มีทัศนคติทางบวกก่อนการตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจต่อภาวะการตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีตลอดการตั้งครรภ์ทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมถึงการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวถือเป็นกิจกรรมการบริการที่มีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและสังคม เป็นทั้งการให้กำลังใจ การแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือ และเป็นการสร้างความรัก ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อให้กำลังใจ ด้วยการไปเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เมื่อรู้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เป็นการแสดงความยินดีที่จะมีสมาชิกใหม่ของครอบครัวและชุมชน และเป็นการให้กำลังใจแก่หญิงตั้งครรภ์ สร้างความรักและความอบอุ่นให้เกิดขึ้นระหว่างหญิงตั้งครรภ์และชุมชน ก่อให้เกิดความประทับใจครั้งแรกของหญิงตั้งครรภ์ จำนวนสมาชิกของทีมที่ไปเยี่ยมบ้านไม่จำกัดจำนวน ยิ่งมีจำนวนมาก ยิ่งเกิดความอบอุ่นและประทับใจ (ยุทธนา พูนพานิช สุจริต สุขเวสพงษ์, hpc.go.th)
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๕๒) มาตรา ๕๓ (๑) กำหนดให้เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา๕๐(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ประกอบกับ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มาตรา ๑๐ ระบุให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับสิทธิตามมาตรา ๕ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ รวมถึงหนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข ๐๐๒๓.๖/ว ๑๔๗ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๖ เรื่อง การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด กำหนดแนวทางให้เทศบาลบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่แก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และเป็นไปตามแผนการดำเนินการที่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เห็นชอบในคราวประชุมวาระครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมกันเกรา ๓ สำนักงานเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดให้แก่ประชาชนในชุมชน และเพื่อเยี่ยมบ้านให้กำลังใจในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ให้เกิดความเชื่อมั่นและสามารถพึ่งตนเองในการดูแลตัวเองและทารกที่บ้านได้ ซึ่งถือเป็นด่านแรกของการดูแลสุขภาพ ที่จะทำให้บุคคลเกิดความตระหนักสนใจในการดูแลสุขภาพ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสตรีหลังคลอด เด็ก ครอบครัวและชุมชน ซึ่งส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตขึ้นในท่ามกลางความรัก ความอบอุ่นและความผูกพันธ์ของชุมชน เป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพของชุมชนในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์ ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการคลอดก่อนกำหนดแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน

๑. ร้อยละ๘๐ของผู้ผ่านการอบรม มีความรู้ผ่านเกณฑ์ ๒. เกิดกลุ่ม“พี่สอนน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน” อย่างน้อย ๑ กลุ่ม

0.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

ร้อยละ ๑๐๐ ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ

0.00
3 ๓. เพื่อเฝ้าระวังภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบล ทุ่งตำเสา

ร้อยละ ๑๐๐ หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาเข้ารับบริการฝากครรภ์ ณ สถานพยาบาล

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 258
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑) ประชุมคณะทำงาน เพื่อบูรณาการความร่วมมือจัดกิจกรรมในพื้นที่ ร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่, ๗ ภาคีเครือข่ายและสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
๑) ประชุมคณะทำงาน เพื่อบูรณาการความร่วมมือจัดกิจกรรมในพื้นที่ ร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่, ๗ ภาคีเครือข่ายและสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ ครั้ง  เป็นเงิน ๒,๕๐๐.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานได้บูรณาการความร่วมมือจัดกิจกรรมในพื้นที่ ร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่, ๗ ภาคีเครือข่ายและสถานศึกษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 ๒) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
๒) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ติดตั้งในชุมชน จำนวน ๑๐ ชุมชน
  • สื่อสปอร์ตประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ
  • แผ่นพับให้ความรู้ จำนวน ๑,๐๐๐ใบ
  • จัดทำสติ๊กเกอร์ไฟมบอร์ด รณรงค์ประชา สัมพันธ์สัญญาญเตือนคลอดก่อนกำหนด สนับสนุนหน่วยบริการในพื้นที่ -ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร x ๔๓๐บาท x ๑๐ผืน เป็นเงิน ๔,๓๐๐.-บาท -ค่าโครงป้าย ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร x ๑๐๐บาท x ๑๐ ผืน  เป็นเงิน ๑,๐๐๐.-บาท -ค่าจ้างทำแผ่นพับ ๑,๐๐๐ใบ x ๘ บาท เป็นเงิน ๘,๐๐๐.-บาท
  • ค่าสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ขนาด ๖๐ x ๖๐ ซม. x ๓ แผ่น x ๑๗๐บาท เป็นเงิน ๒,๑๐๐.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2566 ถึง 28 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด ประชาสัมพันธ์ ในชุมชน จำนวน ๑๐ ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15400.00

กิจกรรมที่ 3 ๓) กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
๓) กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อให้คำแนะนำ ติดตามดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ และติดตาม ค้นหา หญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัด หรือมีภาวะเสี่ยงร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ     ในพื้นที่ ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๖ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ - จัดทำสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ - ขอสนับสนุนจากบริษัท ทักษิณ คอนกรีต จำกัด สำหรับของเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด - ป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ขนาด ๔๐ x ๗๐ ซม. x ๒ ป้าย x ๑๕๐.-บาท   เป็นเงิน ๓๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้คำแนะนำ ติดตามดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ และติดตาม ค้นหา หญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัด หรือมีภาวะเสี่ยงร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ ในพื้นที่ ระหว่างเดือน เมษายน ๒๕๖๖ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 4 ๔) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหา เรื่อง สารเสพติด โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
๔) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหา เรื่อง สารเสพติด โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การป้องกันภาวะการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร และการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ถึง กรกฎาคม ๒๕๖๖ จำนวน ๕ รุ่น ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาการป่าไม้ภาคใต้ ต.ฉลุง    - จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์    - ประสานคณะวิทยากรฝึกอบรม    - จัดทำเกียรติบัตรสำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรม    - จัดเตรียมสถานที่ อาหาร และเอกสารประกอบการฝึกอบรม
   - จัดทำป้าย X Stand สื่อคุมกำเนิด ประกอบกิจกรรมฐานการเรียนรู้ “เรื่องเพศศึกษาในครอบครัว”
- ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม ๑.๕ x ๓ เมตร x ๑ ผืน เป็นเงิน  ๖๗๕.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร ๒ ชม. ๓๐นาทีx๖๐๐บาท x ๑ คน x ๕ รุ่น    เป็นเงิน ๗,๕๐๐.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรประจำฐาน ๒ คน x ๑ ชม. ๓๐ นาที x ๖๐๐ บาท x ๓ ฐาน x ๕ รุ่น  เป็นเงิน ๒๗,๐๐๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕๘ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ  เป็นเงิน ๑๒,๙๐๐.-บาท - ค่าอาหารกลางวัน ๒๕๘ คน x ๗๐ บาท x ๑ มื้อ เป็นเงิน  ๑๘,๐๖๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ x ๕ รุ่น  เป็นเงิน  ๒,๕๐๐.-บาท - ค่าอาหารกลางวันวิทยากรและเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน x ๗๐บาท x ๕ วัน   เป็นเงิน  ๓,๕๐๐.-บาท - ค่าบำรุงสถานที่ฝึกอบรม ๑,๕๐๐.-บาท x ๕ รุ่น  เป็นเงิน ๗,๕๐๐.- บาท - ค่าเกียรติบัตร ๒๕๘ ใบ ใบละ ๒๐ บาท เป็นเงิน  ๕,๑๖๐.-บาท - ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร เป็นเงิน ๕๐๐.-บาท - ค่าปากกา Permanent ๓ สี ๒ ชุด เป็นเงิน ๒๐๐.-บาท - ค่าสมุด/ปากกา ชุดละ ๒๕ บาท x ๒๕๘ ชุด  เป็นเงิน ๖,๔๕๐.-บาท - ค่าป้ายx stand ขนาด ๖๐x ๑๖๐ ซม. x ๔ แผ่น x ๔๕๐.-บาท  เป็นเงิน ๑,๘๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหา เรื่อง สารเสพติด โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การป้องกันภาวะการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร และการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
93745.00

กิจกรรมที่ 5 ๕) จัดนิทรรศการส่งเสริมการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ และภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
๕) จัดนิทรรศการส่งเสริมการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ และภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์     - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แบบโรลอัพ ๒ อัน     - จัดนิทรรศการให้ความรู้ใน ๔ ประเด็นหลัก
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑.๕ x ๓ เมตร x ๑ ผืน เป็นเงิน  ๖๗๕.- บาท
  • ค่าป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ขนาด ๔๐ x ๗๐ ซม. x ๔ ป้าย x ๑๕๐บาท  เป็นเงิน  ๖๐๐ บาท
  • ค่าป้ายโรลอัพ ขนาด ๘๐ x ๒๐๐ซม. x ๒ อัน x ๑,๕๐๐.-บาท  เป็นเงิน ๓,๐๐๐.-บาท
  • ค่าจัดซื้อน้ำดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๕๐ คน x ๑๐ บาท x ๑ ครั้ง  เป็นเงิน ๕๐๐.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ชมนิทรรศการส่งเสริมการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ และภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4775.00

กิจกรรมที่ 6 ๖) กิจกรรมเสวนา หัวข้อ“มุมมองเรื่องเพศของวัยรุ่น ยุคGenerationใหม่ ต่อรูปแบบสุขภาพบนพื้นฐานโลกDigital”

ชื่อกิจกรรม
๖) กิจกรรมเสวนา หัวข้อ“มุมมองเรื่องเพศของวัยรุ่น ยุคGenerationใหม่ ต่อรูปแบบสุขภาพบนพื้นฐานโลกDigital”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชน และวัยรุ่นมีส่วนร่วมวางแผนและประเมินผลการให้บริการสุขอนามัยเจริญพันธ์ที่เป็นมิตร เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ
- ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร x ๑ ผืน เป็นเงิน ๔๓๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑๐๐ คน x ๒๕ บาท    เป็นเงิน ๒,๕๐๐.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรและผู้เข้าร่วมเสวนา ๔ คน x ๒ ชม.x ๖๐๐.-บาท    เป็นเงิน ๔,๘๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้  ในหัวข้อ “มุมมองเรื่องเพศของวัยรุ่น ยุคGenerationใหม่ ต่อรูปแบบสุขภาพบนพื้นฐานโลกDigital” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชน และวัยรุ่นมีส่วนร่วมวางแผนและประเมินผลการให้บริการสุขอนามัยเจริญพันธ์ที่เป็นมิตร เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 124,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเด็กนักเรียนและเยาวชนสังกัดสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา มีความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์ ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการคลอดก่อนกำหนดแก่วัยเจริญพันธ์
๒. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมให้คำแนะนำและส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ
๓. อัตราการคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสาลดลง


>