กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ 66-L5275-(10)1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 124,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2566 29 ก.ย. 2566 124,450.00
รวมงบประมาณ 124,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 258 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็ว จากการเกิดที่มีจำนวนน้อยลง และการเกิดจำนวนหนึ่งไม่เป็นที่ต้องการ ผู้ให้กำเนิดขาดความพร้อม ประชากรวัยทำงาน มีแนวโน้มใช้ชีวิตอยู่เป็นโสดมากขึ้น การมีบุตรจำนวนน้อยเพียงหนึ่งหรือสองคนหรือไม่มีบุตรเลย หญิงวัยเจริญพันธ์มีจำนวนบุตรเฉลี่ยน้อยกว่า ๑.๖ คน ส่งผลให้ประสบปัญหาจำนวนการเกิดหรืออัตราเจริญพันธ์ลดลง รวมถึงปัญหาในด้านของคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย อีกทั้งยังมีการเกิดจากหญิงวัยรุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” (นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐- ๒๕๖๙) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ) และประเทศไทยยังพบอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดประมาณร้อยละ ๘-๑๒ หรือประมาณ ๘๐,๐๐๐ รายต่อปี รวมถึงอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในกลุ่มของแม่อายุ ๑๐ -๑๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ร้อยละ ๑๙.๒, ๑๙.๓ ตามลำดับ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
สถานการณ์การเกิดในจังหวัดสงขลา ข้อมูลจากระบบ Health Data Center (HDC) ในระยะ ๕ ปีที่ผ่านมา พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงวัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕ (ไตรมาส ๔) เท่ากับ ๒๔.๔๘, ๑๘.๓๓, ๑๗.๗๕, ๑๓.๕๐ และ ๑๒.๒๘ ต่อพัน ตามลำดับ และอัตราการคลอดมีชีพในหญิง อายุ10-15 ปี ในปี 2561-2563(ไตรมาส 1) เท่ากับ 0.49, 0.36 และ0.36 ต่อพัน ตามลำดับ ส่วนตำบลทุ่งตำเสาข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ จำนวน ๒๖ ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี จำนวน ๑ รายและอัตราคลอดก่อนกำหนดพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ในปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ เท่ากับร้อยละ ๙.๐๒, ๒.๘๘ และ ๕.๘๓ ตามลำดับ
ดังนั้นการคลอดก่อนกำหนดถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะเป็นสาเหตุการตายของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การคลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ย ๑๒ ล้านคน/ปี การคลอดก่อนกำหนดเป็นการคลอดตั้งแต่อายุครรภ์ ๒๔ สัปดาห์จนถึงการคลอดก่อนอายุครรภ์ ๓๗ สัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารก ทำให้หญิงตั้งครรภ์ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากต้องรับการรักษาด้วยยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการใจสั่น มือสั่น คลื่นใส้อาเจียน ปวดศีรษะและอาจรุนแรงมากจนเกิดภาวะน้ำคั่งความเครียด ซึมเศร้า ในทารกเนื่องจากอวัยวะต่าง ๆยังไม่สมบูรณ์ มีอุณหภูมิร่างกายต่ำ มีภาวะหายใจลำบาก อาจมีภาวะแทรกซ้อน ลำไส้เน่าเปื่อย ภาวะจอตาเจริญผิดปกติหรือโรคปอดเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการตายของทารกแรกเกิด ส่งผลให้ครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี โดยข้อมูลจากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร ระบุว่า ร้อยละ ๕๐-๖๐ ของการคลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้เข้ารับการรักษาล่าช้า เป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มักไม่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออาจมีความพิการแต่กำเนิดเช่นกัน ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์และการเตรียมความพร้อมสตรีก่อนการตั้งครรภ์ในช่วงวัยที่เหมาะแก่การตั้งครรภ์ มีทัศนคติทางบวกก่อนการตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจต่อภาวะการตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีตลอดการตั้งครรภ์ทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมถึงการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวถือเป็นกิจกรรมการบริการที่มีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและสังคม เป็นทั้งการให้กำลังใจ การแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือ และเป็นการสร้างความรัก ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อให้กำลังใจ ด้วยการไปเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เมื่อรู้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เป็นการแสดงความยินดีที่จะมีสมาชิกใหม่ของครอบครัวและชุมชน และเป็นการให้กำลังใจแก่หญิงตั้งครรภ์ สร้างความรักและความอบอุ่นให้เกิดขึ้นระหว่างหญิงตั้งครรภ์และชุมชน ก่อให้เกิดความประทับใจครั้งแรกของหญิงตั้งครรภ์ จำนวนสมาชิกของทีมที่ไปเยี่ยมบ้านไม่จำกัดจำนวน ยิ่งมีจำนวนมาก ยิ่งเกิดความอบอุ่นและประทับใจ (ยุทธนา พูนพานิช สุจริต สุขเวสพงษ์, hpc.go.th) อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๕๒) มาตรา ๕๓ (๑) กำหนดให้เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา๕๐(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ประกอบกับ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มาตรา ๑๐ ระบุให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับสิทธิตามมาตรา ๕ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ รวมถึงหนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข ๐๐๒๓.๖/ว ๑๔๗ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๖ เรื่อง การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด กำหนดแนวทางให้เทศบาลบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่แก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และเป็นไปตามแผนการดำเนินการที่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เห็นชอบในคราวประชุมวาระครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมกันเกรา ๓ สำนักงานเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดให้แก่ประชาชนในชุมชน และเพื่อเยี่ยมบ้านให้กำลังใจในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ให้เกิดความเชื่อมั่นและสามารถพึ่งตนเองในการดูแลตัวเองและทารกที่บ้านได้ ซึ่งถือเป็นด่านแรกของการดูแลสุขภาพ ที่จะทำให้บุคคลเกิดความตระหนักสนใจในการดูแลสุขภาพ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสตรีหลังคลอด เด็ก ครอบครัวและชุมชน ซึ่งส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตขึ้นในท่ามกลางความรัก ความอบอุ่นและความผูกพันธ์ของชุมชน เป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพของชุมชนในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์ ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการคลอดก่อนกำหนดแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน

๑. ร้อยละ๘๐ของผู้ผ่านการอบรม มีความรู้ผ่านเกณฑ์ ๒. เกิดกลุ่ม“พี่สอนน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน” อย่างน้อย ๑ กลุ่ม

0.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

ร้อยละ ๑๐๐ ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ

0.00
3 ๓. เพื่อเฝ้าระวังภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบล ทุ่งตำเสา

ร้อยละ ๑๐๐ หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาเข้ารับบริการฝากครรภ์ ณ สถานพยาบาล

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
10 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 ๑) ประชุมคณะทำงาน เพื่อบูรณาการความร่วมมือจัดกิจกรรมในพื้นที่ ร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่, ๗ ภาคีเครือข่ายและสถานศึกษา 0 2,500.00 -
10 - 28 เม.ย. 66 ๒) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด 0 15,400.00 -
10 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 ๓) กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0 300.00 -
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 ๔) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหา เรื่อง สารเสพติด โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 0 93,745.00 -
1 พ.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 ๕) จัดนิทรรศการส่งเสริมการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ และภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ 0 4,775.00 -
1 พ.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 ๖) กิจกรรมเสวนา หัวข้อ“มุมมองเรื่องเพศของวัยรุ่น ยุคGenerationใหม่ ต่อรูปแบบสุขภาพบนพื้นฐานโลกDigital” 0 7,730.00 -
รวม 0 124,450.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเด็กนักเรียนและเยาวชนสังกัดสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา มีความรู้เรื่องภาวะการตั้งครรภ์ ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการคลอดก่อนกำหนดแก่วัยเจริญพันธ์ ๒. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมให้คำแนะนำและส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ๓. อัตราการคลอดก่อนกำหนดตำบลทุ่งตำเสาลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2566 10:37 น.