กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย พบว่าโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศ มะเร็งที่พบมากที่สุดโดยเฉพาะในสตรีคือ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยจะพบมากในสตรีช่วงอายุ ๓๐-๖๐ ปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมในระยะแรกของสตรีอายุระหว่าง ๓๐-๖๐ ปีเพื่อเป็นการป้องกันและลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม และทำให้อัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกและเต้านมลดลงไม่เกิน ๕๐% จากผู้ป่วยทั้งหมด จึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้สตรีได้มีการดูแลสุขภาพตนเองและได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมในระยะแรก โดยสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ได้รับการตรวจ Pep Smear และตรวจเต้านมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๐ ของสตรีทั้งหมดที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปี
เนื่องด้วยสถิติย้อนหลังพบผู้ป่วยในปีที่ผ่านมาจากการค้นหาและตรวจคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายมีการตรวจพบสตรีในกลุ่มอายุ ๓๐-๖๐ ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี จำนวน ๒ รายหลังจากมารับบริการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านมดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมในระยะแรกและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของสตรีทั้งหมดที่มีอายุ๓๐-๖๐ ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อกระตุ้นให้สตรีตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมในระยะแรก
๒. เพื่อส่งเสริมให้สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมในระยะแรก โดยวิธี Pep Smear โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญและการ
ตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยได้รับการตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อลดอัตราเสี่ยงการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม
๓. เพื่อลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านมในสตรีไม่เกิน ๕๐% จากผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านมทั้งหมด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 115
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ - ประชุมชี้แจงโครงการให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี/อสม./ผู้นำชุมชน / ผู้นำศาสนา/กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน - จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ - ประสานงานกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อขอประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย/ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ในหน่วยงาน - ออกเชิงรุกตามหมู่บ้าน ประสานงานกับ อสม./ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา / กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทราบ - จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย - จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน - รณรงค์ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pep Smear และตรวจเต้านมเพื่อค้นหามะเร็งเต้านม เจ้าหน้าที่แนะนำ / แจกแผ่นพับ วิธีการตรวจเต้านมด้วย
  ตนเองแก่สตรี เพื่อนำไปตรวจเองที่บ้าน
- รวบรวมผล เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบ แนะนำการรักษาแก่สตรีที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก และเต้านม - สรุปผลการปฏิบัติงานตามโครงการ

งบประมาณ
          ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลมาโมง จำนวนเงิน ๒๒,๖๐๐.- บาท ดังรายการต่อไปนี้ ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการ ๖๐บาท x ๑๑๕คน X ๑มื้อ × ๒รุ่น                 เป็นเงิน ๑,๓๘๐๐ บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ ๓๕บาท x ๑๑๕คน x ๑มื้อ × ๒รุ่น     เป็นเงิน ๘,๐๕๐ บาท ค่าจัดทำป้ายผ้าประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑x๓ จำนวน ๑ ผืน                                   เป็นเงิน ๗๕๐ บาท           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๒,๖๐๐.-.- บาท (สองหมื่นสองพันหกร้อยบาทถ้วน) ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การประเมินผล ๑.จากจำนวนสตรีอายุ ๓๐–๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ๒.จากผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pep Smear และการตรวจเต้านม ๓.จากการสรุปผลการปฏิบัติงานตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. สตรีอายุ ๓๐–๖๐ ปี ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูก และเต้านมในระยะแรก
๒. สตรีอายุ ๓๐–๖๐ ปี ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและเต้านมมากขึ้น และได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี
๓. สตรีอายุ ๓๐–๖๐ ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมในระยะแรก


>