กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลระแงะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย ซึ่งพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งทีพบมาก 1 ใน 5 ของประเทศไทยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ตำ่กว่า 3,000 ราย และมักพบโรคในวัย 50 ปีขึ้นไป ซึ่งโรคมะเร็งเป็นโรคเป็นโรคที่สามารถดูแลป้องกันและรักษาได้ใมระยะเริ่มต้นและการป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนัก และกระต้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเอง โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยวิธีเอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA TEST) เป็นการตรวจด้วยวิธีเจาะลึกระดับดีเอ็นเอเพื่อตรวจหาเชิ้อเอชพีวี สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ คือสายพันธ์ุ 16,18 และ เอชพีวี 12 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสูงถึงร้อยละ 99 ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ และการตรวจหาเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี fit test (fecal lmmunochemical test for hemoglobin) เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งโรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและสิ่งเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก อัตราการป่วยตายด้วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากการดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ในปีที่ผ่านมา ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป่าหมายเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือมีความอายและไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการการได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นและกรณีพบความผิดปกติก็จะได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ในเรื่องมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปีที่ได้รับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปีมีความรู้ในเรื่องมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปีที่ได้รับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 50-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น

0.00
4 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรก

ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปี ที่ได้รับการอบรม สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

0.00
5 เพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปี ที่ได้รับการอบรม สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 600 คน เป็นเงิน 30,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน คนละ 50 บาท จำนวน 600 คน
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเข้าใจในเรื่่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงสามารถเผยแพร่ความรู้ในแก่ชุมชนได้


>