กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลระแงะ
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 61,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปิยะมาศ พจนาวาณิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย ซึ่งพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งทีพบมาก 1 ใน 5 ของประเทศไทยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ตำ่กว่า 3,000 ราย และมักพบโรคในวัย 50 ปีขึ้นไป ซึ่งโรคมะเร็งเป็นโรคเป็นโรคที่สามารถดูแลป้องกันและรักษาได้ใมระยะเริ่มต้นและการป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนัก และกระต้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเอง โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยวิธีเอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA TEST) เป็นการตรวจด้วยวิธีเจาะลึกระดับดีเอ็นเอเพื่อตรวจหาเชิ้อเอชพีวี สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ คือสายพันธ์ุ 16,18 และ เอชพีวี 12 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสูงถึงร้อยละ 99 ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ และการตรวจหาเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี fit test (fecal lmmunochemical test for hemoglobin) เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งโรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและสิ่งเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก อัตราการป่วยตายด้วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ในปีที่ผ่านมา ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป่าหมายเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือมีความอายและไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการการได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นและกรณีพบความผิดปกติก็จะได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ในเรื่องมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปีที่ได้รับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปีมีความรู้ในเรื่องมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปีที่ได้รับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 50-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น

0.00
4 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรก

ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปี ที่ได้รับการอบรม สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

0.00
5 เพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปี ที่ได้รับการอบรม สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 61,500.00 0 0.00
17 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 0 61,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเข้าใจในเรื่่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงสามารถเผยแพร่ความรู้ในแก่ชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 00:00 น.