กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงดาลอ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านตันหยงดาลอ

โรงเรียนบ้านตันหยงดาลอ ม.1 ต.ตันหยงดาลอ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

14.00
2 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

9.00

อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในปีการศึกษา 2565 เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงดาลอจำนวน 135 คน พบว่ามีเด็กผอมจำนวน 17 คน เด็กอ้วนจำนวน 11คนถือได้ว่าเป็นภาวะที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เกินเกณฑ์ หรือกลุ่มเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ20.74 จากการสอบถามเด็กดังกล่าวพบว่า เด็กมาโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า เด็กรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตสิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนด้วย จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านตันหยงดาลอจึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงดาลอ เพื่อเแก้ปัญหาและติดตามภาวะทุพโภชนาการนักเรียนและติดตามนักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

14.00 7.00
2 เพื่อให้ครู บุคลากรและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6 - 12 ปี

ครู บุคลากรและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6 - 12 ปี

30.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 18
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 104
กลุ่มวัยทำงาน 19
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6 - 12 ปี

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6 - 12 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6-12 ปี โดยเชิญวิทยากร และจัดกิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้
รายละเอียดงบประมาณดังนี้ 1. ค่าวิทยากรบรรยาย/อบรม จำนวน 3ชั่วโมงๆละ600บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (141 คน ×25บาท× 1 มื้อ)เป็นเงิน 3,525 บาท
3. ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 4 ฐานๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ครู บุคลากรและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6 - 12 ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7325.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมโภชนาการด้วยการเสริมอาหารในกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมโภชนาการด้วยการเสริมอาหารในกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและประเมินการเจริญเติบโต -ดำเนินการให้อาหารเสริมระหว่างมื้อเช้า บ่าย ในกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างผอม และผอม โดยใช้งบประมาณดังนี้
ค่าอาหารเสริมนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างผอมและผอม วันละ 20 บาท X 60 วัน X 17 คน เป็นเงิน 20,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนนักเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการลดลงร้อยละ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการเจริญเติบโตในทุกเดือน พร้อมทั้งดูแนวโน้มการเจริญเติบโต

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการเจริญเติบโตในทุกเดือน พร้อมทั้งดูแนวโน้มการเจริญเติบโต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการเจริญเติบโตในทุกเดือนพร้อมทั้งดูแนวโน้มการเจริญเติบโต
โดย
-การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
-แปลผล ประเมินผลในแต่ละเดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนนักเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการลดลงร้อยละ 4

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 นักเรียนร่วมถอดบทเรียนด้านโภชนาการที่ดี

ชื่อกิจกรรม
นักเรียนร่วมถอดบทเรียนด้านโภชนาการที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอองค์ความรู้ตามความสนใจของนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเลือกบริโภคอาหารที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,725.00 บาท

หมายเหตุ :
-ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู บุคลากร และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6 - 12 ปี และตระหนักในหลักโภชนาการ
2. จำนวนนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการต่ำลดลง ร้อยละ 4


>