กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนน่ามอง คลองสะอาด ประชาชนสุขภาพดี บ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2 ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระดับหมู่บ้าน บ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2

นางอรทัย พงษ์สถิตย์

บ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หมู่บ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2 มีจำนวนหลังคาเรือน 274 หลังคาและมีประชาชนจำนวน 801คนแยกเป็นประชาชน ชาย 374 คน หญิง 427คน จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หมู่ 2 พบว่ามีอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (NCD) ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง 12.1% โรคเบาหวาน 9.2% โรคหลอดเลือดสมอง 1.4% โรคมะเร็งต่าง ๆ ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีสถิติผู้ป่วยในปีที่ผ่านมาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวน 32 คน โรคเบาหวานมีจำนวน 12 คน,และโรคไขมันในเลือด 12 คนสาเหตุของการป่วยเป็นโรคดังกล่าว เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย หากมีการส่งเสริมความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการก็จะสามารถป้องกันการป่วยด้วยโรคเรื้อรังและส่งเสริมให้ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม และมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนั้นในพื้นที่หมู่ 2 ยังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ฯลฯ สาเหตุในการเกิดโรคดังกล่าว เกิดจากการมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในการป้องกันปัญหาโรคติดต่อในพื้นที่หมู่บ้าน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในหมู่บ้านต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการดูแลสภาพแวดล้อมร่วมกัน จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคบ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2 จึงได้จัดทำโครงการ โครงการชุมชนน่ามอง คลองสะอาด ประชาชนสุขภาพดีบ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2ประจำปี 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายของประชาชนและลดอัตราการป่วยเป็นโรคเรื้อรัง

 

0.00
2 เพื่อสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ทั้งระดับครัวเรือน ระดับหมู่บ้าน

 

0.00
3 เพื่อรณรงค์และป้องกันการเกิดโรคติดต่อในพื้นที่หมู่บ้าน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชุมชนน่ามอง คลองสะอาด ประชาชนสุขภาพดี บ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2 ประจำปี 2566

ชื่อกิจกรรม
ชุมชนน่ามอง คลองสะอาด ประชาชนสุขภาพดี บ้านสร้างถ่อ หมู่ที่ 2 ประจำปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
  2. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  3. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกาย โดยรณรงค์และให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน
  4. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดรอบครัวเรือนและภายในหมู่บ้านจำนวน 4  ครั้ง ได้แก่
    1) ตัดแต่งกิ่งไม้ที่กีดขวางทางจราจรตามไหล่ทาง เพื่อการสัญจรไป-มา ได้สะดวก
    2) รื้อและล้างคลองรอบหมู่บ้าน
    3) จัดบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ
  5. ดำเนินกิจกรรมจัดการขยะในครัวเรือน โดยสาธิตการคัดแยกขยะ ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ง่ายต่อการกำจัดขยะในพื้นที่หมู่บ้าน
  6. ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพสร้างถ่อ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครัวเรือนทุกครัวเรือในหมู่บ้าน มีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
2. ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้าน ใส่ใจในสุขภาพและมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและถูกหลักวิชาการ
3. ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้าน มีส่วนร่วมในการดูแลสภาพแวดล้อมหมู่บ้านให้น่าอยู่
4. ประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดน้อยลงเมื่อเทียบอัตราการป่วยในระยะ ๓ ปีที่ผ่านมา


>