กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จิตใจสดใส ร่างกายแข็งแรง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรมผู้สูงอายุบ้านนาท่าม

1. นางศิริวรรณ ทองมี
2. นางภัทรินทร์ มุกดา
3. นางอรรถพร จงเจริญวิทย์
4. นางฉวีวรรณ ไชยแก้ว
5. นางจำรัส ช่วยออก

หมู่ที่ 1 3 6 7 ตำบลนาท่ามใต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจปี 2565 พบว่า ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดบ้านนาท่ามมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 570 คน คิดเป็นร้อยละ22.60 ของประชากรทั้งหมด ติดสังคม จำนวน 528 คน คิดเป็นร้อยละ92.63 ติดบ้าน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 5.43 และติดเตียง 14 คน คิดเป็นร้อยละ 2.45 และมีปัญหาป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน174 คน คิดเป็นร้อยละ 30.52 นั่นหมายความว่า ตำบลนาท่ามใต้เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์และปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ที่พบคือปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัญหาการหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม รวมถึงชุมชน ท้องถิ่นจะต้องร่วมมือกันและมีบทบาทในการเตรียมความพร้อมบุคลากร และประชาชนกลุ่มเป้าหมายในความรับผิดชอบให้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ยาวนานที่สุดและไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น จากการสำรวจของสถาบันวิจัยประชากรไทยและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2564 (ค.ศ.2021) ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เราจะมี ผู้สูงอายุ หรือ คนแก่ มากถึง 20% ของประชากรทั้งประเทศ
อย่างไรก็ตาม การก้าวผ่านความท้าทายต้องเริ่มจากการกำหนดนโยบาย มาตรการและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับรองรับสังคมสูงวัย รวมทั้งการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุและครอบครัวในการใช้ชีวิตร่วมกัน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ การสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ดูแลและช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดกระบวนการดูแลซึ่งกันและกัน ชมรมผู้สูงอายุได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุให้ได้รับการดูแล และเตรียมความพร้อมในการเผชิญหน้ากับภาวะสุขภาพที่ถดถอยโดยไม่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีคุณค่าและยาวนาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาวะเสี่ยงหกล้มภาวะสมองเสื่อม เพื่อวางแผนการดูแล ป้องกันความรุนแรงดังกล่าว
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 90 ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะหกล้ม
80.00 80.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการดูแลกิจวัตรประจำวัน (ADL) เพื่อเตรียมความวางแผนการดูแลระยะยาว
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 90 ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม
80.00 80.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 90 ได้รับการประเมินความสามารถในการดูแลกิจวัตรประจำวัน (ADL)
80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประเมินความเสี่ยงภาวะหกล้ม และภาวะสมองเสื่อม 1.1 กิจกรรมย่อยจัดอบรมอาสาสมัครที่จะลงใช้เครื่องมือการคัดกรองความเสี่ยง เรื่อง การคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ภาวะเสี่ยงหกล้ม หมู่บ้านละ 10 คน (หมู่ที่ 1 , 3 , 6 และ 7) และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประเมินความเสี่ยงภาวะหกล้ม และภาวะสมองเสื่อม 1.1 กิจกรรมย่อยจัดอบรมอาสาสมัครที่จะลงใช้เครื่องมือการคัดกรองความเสี่ยง เรื่อง การคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ภาวะเสี่ยงหกล้ม หมู่บ้านละ 10 คน (หมู่ที่ 1 , 3 , 6 และ 7) และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 52 คน เป็นเงิน 1,300 บาท

  • ค่าจัดทำเอกสารสำหรับการคัดกรอง จำนวน 584 ชุดๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 2,920 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมิน และความเสี่ยงภาวะหกล้ม ซึ่งทำให้พิการและเพิ่มโอกาสติดเตียงในผู้สูงอายุมากขึ้น ได้รับการฟื้นฟูสภาพความแข็งแรงของร่างกายเพื่อป้องกันภาวะหกล้ม ครอบครัวและชุมชนช่วยหาทางลดความเสี่ยงทางกายภาพเพื่อลดความเสี่ยงให้ผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมเป้นภาวะถดถอยตามวัยที่มีโอกาสพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุลดลงอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการดูแลตัวเองแย่ลง ซึ่งส่งผลเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว มีภาระเพิ่มขึ้นในการดูแล ถ้าหากสามารถค้นหาได้ตั้งแต่อาการเริ่มต้น เราจะสามารถชะลอความเสี่ยงและช่วยหาทางช่วยเหลือได้โดยการคัดกรองเบื้องต้น
  3. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ADL เพื่อให้สามารถวางแผนการดูแลระยะยาวได้
  4. ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น มีความสุขและรู้สึกมีคุณค่าในชีวิต ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี
  5. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติทางสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
  6. มีฐานข้อมูลภาวะสุขภาพของชุมชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้นำไปใช้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4220.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมมหกรรม ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2.1 กิจกรรมย่อย กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและออกกำลังกายในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และติดสังคม จำนวน 300 คน 2.2 กิจกรรมย่อย แข่งกีฬามหาสนุกผู้สูงอายุ (กิจกรรมกีฬาเพื่อนันทนาการ) - แข่งขันหัวเรา

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมมหกรรม ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2.1 กิจกรรมย่อย กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและออกกำลังกายในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และติดสังคม จำนวน 300 คน 2.2 กิจกรรมย่อย แข่งกีฬามหาสนุกผู้สูงอายุ (กิจกรรมกีฬาเพื่อนันทนาการ) - แข่งขันหัวเรา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 300 คน เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2  มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียง จำนวน 1 วันๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าเช่าเต็นท์ จำนวน 2 หลังๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์การแข่งขันกีฬา เป็นเงิน 4,780 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมิน และความเสี่ยงภาวะหกล้ม ซึ่งทำให้พิการและเพิ่มโอกาสติดเตียงในผู้สูงอายุมากขึ้น ได้รับการฟื้นฟูสภาพความแข็งแรงของร่างกายเพื่อป้องกันภาวะหกล้ม ครอบครัวและชุมชนช่วยหาทางลดความเสี่ยงทางกายภาพเพื่อลดความเสี่ยงให้ผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมเป้นภาวะถดถอยตามวัยที่มีโอกาสพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุลดลงอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการดูแลตัวเองแย่ลง ซึ่งส่งผลเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว มีภาระเพิ่มขึ้นในการดูแล ถ้าหากสามารถค้นหาได้ตั้งแต่อาการเริ่มต้น เราจะสามารถชะลอความเสี่ยงและช่วยหาทางช่วยเหลือได้โดยการคัดกรองเบื้องต้น
  3. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ADL เพื่อให้สามารถวางแผนการดูแลระยะยาวได้
  4. ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น มีความสุขและรู้สึกมีคุณค่าในชีวิต ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี
  5. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติทางสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
  6. มีฐานข้อมูลภาวะสุขภาพของชุมชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้นำไปใช้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40780.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมิน และความเสี่ยงภาวะหกล้ม ซึ่งทำให้พิการและเพิ่มโอกาสติดเตียงในผู้สูงอายุมากขึ้น ได้รับการฟื้นฟูสภาพความแข็งแรงของร่างกายเพื่อป้องกันภาวะหกล้ม ครอบครัวและชุมชนช่วยหาทางลดความเสี่ยงทางกายภาพเพื่อลดความเสี่ยงให้ผู้สูงอายุ
2. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมเป้นภาวะถดถอยตามวัยที่มีโอกาสพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุลดลงอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการดูแลตัวเองแย่ลง ซึ่งส่งผลเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว มีภาระเพิ่มขึ้นในการดูแล ถ้าหากสามารถค้นหาได้ตั้งแต่อาการเริ่มต้น เราจะสามารถชะลอความเสี่ยงและช่วยหาทางช่วยเหลือได้โดยการคัดกรองเบื้องต้น
3. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ADL เพื่อให้สามารถวางแผนการดูแลระยะยาวได้
4. ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น มีความสุขและรู้สึกมีคุณค่าในชีวิต ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี
5. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติทางสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
6. มีฐานข้อมูลภาวะสุขภาพของชุมชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้นำไปใช้


>