กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จิตใจสดใส ร่างกายแข็งแรง
รหัสโครงการ 66-L8428-03-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านนาท่าม
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริวรรณ ทองมี
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุน สปสช.อบต.นาท่ามใต้
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจปี 2565 พบว่า ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดบ้านนาท่ามมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 570 คน คิดเป็นร้อยละ22.60 ของประชากรทั้งหมด ติดสังคม จำนวน 528 คน คิดเป็นร้อยละ92.63 ติดบ้าน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 5.43 และติดเตียง 14 คน คิดเป็นร้อยละ 2.45 และมีปัญหาป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน174 คน คิดเป็นร้อยละ 30.52 นั่นหมายความว่า ตำบลนาท่ามใต้เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์และปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ที่พบคือปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัญหาการหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม รวมถึงชุมชน ท้องถิ่นจะต้องร่วมมือกันและมีบทบาทในการเตรียมความพร้อมบุคลากร และประชาชนกลุ่มเป้าหมายในความรับผิดชอบให้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ยาวนานที่สุดและไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น จากการสำรวจของสถาบันวิจัยประชากรไทยและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2564 (ค.ศ.2021) ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เราจะมี ผู้สูงอายุ หรือ คนแก่ มากถึง 20% ของประชากรทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม การก้าวผ่านความท้าทายต้องเริ่มจากการกำหนดนโยบาย มาตรการและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับรองรับสังคมสูงวัย รวมทั้งการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุและครอบครัวในการใช้ชีวิตร่วมกัน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ การสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ดูแลและช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดกระบวนการดูแลซึ่งกันและกัน ชมรมผู้สูงอายุได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุให้ได้รับการดูแล และเตรียมความพร้อมในการเผชิญหน้ากับภาวะสุขภาพที่ถดถอยโดยไม่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีคุณค่าและยาวนาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาวะเสี่ยงหกล้มภาวะสมองเสื่อม เพื่อวางแผนการดูแล ป้องกันความรุนแรงดังกล่าว
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 90 ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะหกล้ม
80.00 80.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการดูแลกิจวัตรประจำวัน (ADL) เพื่อเตรียมความวางแผนการดูแลระยะยาว
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 90 ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม
80.00 80.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 90 ได้รับการประเมินความสามารถในการดูแลกิจวัตรประจำวัน (ADL)
80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 1. กิจกรรมประเมินความเสี่ยงภาวะหกล้ม และภาวะสมองเสื่อม 1.1 กิจกรรมย่อยจัดอบรมอาสาสมัครที่จะลงใช้เครื่องมือการคัดกรองความเสี่ยง เรื่อง การคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ภาวะเสี่ยงหกล้ม หมู่บ้านละ 10 คน (หมู่ที่ 1 , 3 , 6 และ 7) และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 0 4,220.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 2. กิจกรรมมหกรรม ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2.1 กิจกรรมย่อย กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและออกกำลังกายในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และติดสังคม จำนวน 300 คน 2.2 กิจกรรมย่อย แข่งกีฬามหาสนุกผู้สูงอายุ (กิจกรรมกีฬาเพื่อนันทนาการ) - แข่งขันหัวเรา 0 40,780.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมิน และความเสี่ยงภาวะหกล้ม ซึ่งทำให้พิการและเพิ่มโอกาสติดเตียงในผู้สูงอายุมากขึ้น ได้รับการฟื้นฟูสภาพความแข็งแรงของร่างกายเพื่อป้องกันภาวะหกล้ม ครอบครัวและชุมชนช่วยหาทางลดความเสี่ยงทางกายภาพเพื่อลดความเสี่ยงให้ผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมเป้นภาวะถดถอยตามวัยที่มีโอกาสพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุลดลงอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการดูแลตัวเองแย่ลง ซึ่งส่งผลเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว มีภาระเพิ่มขึ้นในการดูแล ถ้าหากสามารถค้นหาได้ตั้งแต่อาการเริ่มต้น เราจะสามารถชะลอความเสี่ยงและช่วยหาทางช่วยเหลือได้โดยการคัดกรองเบื้องต้น
  3. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ADL เพื่อให้สามารถวางแผนการดูแลระยะยาวได้
  4. ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น มีความสุขและรู้สึกมีคุณค่าในชีวิต ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี
  5. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติทางสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
  6. มีฐานข้อมูลภาวะสุขภาพของชุมชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้นำไปใช้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 00:00 น.