กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านนาท่าม

1. นายสาโรช จิตรา
2. นางฉวีวรรณ ชัยแก้ว
3. นางสาวณัฐธิดา ชัยเพชร
4. นางจิรา เพ็ชรสุด
5. นางศิริวรรณ ทองมี

หมู่ที่1 3 6 7 ตำบลนาท่ามใต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสีย ทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้พิการและอยู่ในภาวะติดเตียง ทำให้เป็นโรคไตวาย ซึ่งเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และครอบครัวสำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคคือ กรรมพันธุ์และพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการใช้ชีวิต ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ จากผลการวิจัยหลายเรื่องชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผล โดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ สามารถควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้
จากข้อมูลประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ปี 2566 กลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรอง โรคเบาหวาน และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1368 ราย ได้รับการคัดกรองเบาหวานจำนวน 1,268คน คิดเป็น ร้อยละ 90.35 และได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน 1,246 คน คิดเป็นร้อยละ 91.08 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 48 ราย กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 187 ราย หากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ การรักษาโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง โดยการให้ความสำคัญด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอต่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำาลังกายที่ถูกต้อง กระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะแรก ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงไม่สามารถดำเนินการได้อย่างครอบคลุม เนื่องจากสถานการณ์ การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทำให้ไม่สามารถติดตามลงเชิงรุกได้
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านนาท่าม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีอีกทั้งจำนวนผู้ป่วยหลอดเลือดสมองมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีผู้พิการติดเตียงเพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ปี 2566 ขึ้น โดยเน้นกิจกรรมคัดกรองเพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองเฝ้าระวังโรคและให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่เข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดีและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงประจำปี และมีค่าความดันโลหิต เข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ และได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง
80.00 80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเบาหวานและมีค่าระดับน้ำตาลในเลือก เข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงที่ได้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำ
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ได้รับการเจาะน้ำตาลซ้ำ อย่างน้อย 1 ครั้ง
80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 235
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม ค้นหากลุ่มเสี่ยง 1.1 กิจกรรมพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพ อสม.ในเรื่อง การเจาะน้ำตาลในเลือดและการวัดความดันโลหิต 1.2 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปโดย อสม. ออกวัดความดันโลหิต และเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 1.3 แยกกลุ่มเป้าหมายตามระดับความดันโลหิต

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม ค้นหากลุ่มเสี่ยง 1.1 กิจกรรมพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพ อสม.ในเรื่อง การเจาะน้ำตาลในเลือดและการวัดความดันโลหิต 1.2 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปโดย อสม. ออกวัดความดันโลหิต และเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 1.3 แยกกลุ่มเป้าหมายตามระดับความดันโลหิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 8,400  บาท
  • ค่าถ่านไฟฉายอัลคาไลน์ ขนาด 2A สำหรับเครื่องวัดความดัน จำนวน 96 ก้อนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท
  • ค่าถ่านกระดุมแบบลิเธียม สำหรับเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 22 ก้อนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
  • แถบตรวจน้ำตาลในเลือดสำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 48 คน ติดตามจำนวน 2 ครั้ง/เดือน ติดตาม 3 เดือน จำนวน 288 แถบๆ ละ 18 บาท เป็นเงิน 5,184 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีสุขภาพดีไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17564.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรม จัดบริการอบรมเรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน โดยรวมกลุ่มแบบแยกหมู่ เพื่อง่ายในการติดตาม อสม.ดูแล 1:10 กลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่ออกให้คำปรึกษา หมู่ละ 1 ครั้ง จำนวน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรม จัดบริการอบรมเรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน โดยรวมกลุ่มแบบแยกหมู่ เพื่อง่ายในการติดตาม อสม.ดูแล 1:10 กลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่ออกให้คำปรึกษา หมู่ละ 1 ครั้ง จำนวน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 235 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,875 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 100 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าสื่อการสอนเรื่องการสร้างสมดุลสุขภาพ จำนวน 1 ชุดๆ ละ 5,500 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
  • ถุงผ้าใส่เอกสาร สำหรับผู้สมัครใจเข้าร่วมรับเปลี่ยน พฤติกรรม จำนวน 100 ใบๆ ละ 41 บาท เป็นเงิน 4,100 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.00 X 2.50 เมตร เป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีสุขภาพดีไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,814.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีสุขภาพดีไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่


>