กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเปลี่ยนภัยน้ำมันทอดซ้ำ สู่พลังงานทางเลือกไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1.นายรัฐการ ลัดเลีย

2.นายตรา เหมโคกน้อย

3.ปรีชา ปันดีกา

4.นายเอกนรินทร์ลัดเลีย

5.นายณรงค์ ปากบารา

พื้นที่ ตำบลปากนํ้า ทั้ง7 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การบริโภคน้ำมันทอดซ้ำของประชาชนในชุมชน

 

60.00
2 น้ำมันพืชใช้แล้วในครัวเรือนถูกเท่ทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัด

 

60.00

หลักการและเหตุผล
การใช้น้ำมันทอดซ้ำจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นไขมันที่ถูกออกซิไดซ์ปริมาณสูงอาจทำให้ ไลโปโปรตีน ชนิดแอลดีแอล มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ ส่วนไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหาร หากสูดดมเป็นระยะเวลานานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอด จากการศึกษาพบว่า มีกลุ่มสารก่อมะเร็งเกิดขึ้นในน้ำมันทอดซ้ำ ได้แก่ กรดไขมันไซคลิก ไตรกลีเซอไรด์อัลดีไฮด์ ไตรกลีเซอไรด์ไฮโดรเปอร์ออกไซด์, อัลดีไฮด์ และ โพลีไซคลิกอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำหรือในน้ำมันที่ใช้ทอดมีปริมาณสารโพลาร์เกินกว่า 25% จะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกาย อาทิเช่น ทำให้เกิดโรคหัวใจ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
ในปัจจุบันมีการศึกษาทดลองจำนวนมากเกี่ยวกับการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง เช่น ทำสบู่หรือทำน้ำมันหล่อลื่น โดยผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ เป็นต้น แต่เรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบันคือ การผลิตไบโอดีเซล จากน้ำมันพืชใช้แล้วซึ่งมีข้อดีเหนือปิโตรดีเซลหลายด้านทั้งความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่จำนวนมากภายในประเทศ ย้อนกลับไปในปี พ..ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล และโปรดเกล้าให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและได้จดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มจัดทำ “ไบโอดีเซล” ในประเทศไทย ต่อมาได้มีกลุ่มบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ได้พัฒนาและสานต่อการทำไบโอดีเซลจนเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้สนใจเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมากนัก
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ มีจำนวน 7 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 10,811คน มีครัวเรือน 2,988ครัวเรือน มีสถานประกอบการที่พัก/รีสอร์ท ประมาณ 46 แห่ง, ร้านอาหารประมาณ 50 ร้าน, แผงลอยจำหน่ายไก่ทอด/ปาท่องโก/ของทอดต่างๆ ประมาณ 60 แผง เฉพาะแผงลอยของทอดคาดว่ามีน้ำมันพืชใช้แล้วไม่น้อยกว่าวันละ 250 ลิตร หรือ 7,500 ลิตรต่อเดือนโดยที่น้ำมันใช้แล้วของร้านแผงลอยจะมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อนำไปผลิตไบโอดีเซลส่วนภาคครัวเรือนคาดว่ามีน้ำมันพืชใช้แล้วประมาณวันละ 100 ลิตร หรือ
เดือนละ 3,000 ลิตร หากน้ำมันพืชใช้แล้วของภาคครัวเรือนปล่อยทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัดอย่างถูกวิธีย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวต่อไป ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ จึงมีแนวคิดในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำในประชาชน ตลอดจนน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อช่วยลดปัญหาสุขภาพของประชาชนจากการใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้าลดโอกาสเสี่ยงจากการใช้นํ้ามันทอดซํ้า

60.00 85.00
2 เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งน้ำมันพืชใช้แล้วลงสู่สิ่งแวดล้อม

ประชาชนได้ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งนํ้ามันพืชใช้แล้วลงสู่สิ่งแวดล้อม

60.00 85.00
3 เพื่อนำน้ำมันพืชใช้แล้วแปรรูปให้เป็นน้ำมันไบโอดีเซลและนำไปใช้ในหน่วยงาน

หน่วยงานมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ประโยชน์

60.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนในพื้นที่ตำบลปากนํ้า 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การผลิตไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การผลิตไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ที่จำเป็นที่ต้องใช้เตรียมการจัดเตรียมสถานที่
  1. ค่าเหล็กฉาก ไม้อัด พร้อมอุปกรณ์สำหรับทำชั้นวางของ
  2. ค่าผ้าใบยางสำหรับคลุมหลังคา ขนาด 8 x 5 เมตร
  3. ค่าป้ายไวนิล
  4. ค่าป้ายโฟมบอร์ด
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้อื่นๆ
    รวมเป็นเงิน 15,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีศูนย์การเรียนรู้การเรียนรู้การผลิตไบโอดีเซล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องเปลี่ยนภัยจากน้ำมันทอดซ้ำ สู่พลังงานทางเลือกไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องเปลี่ยนภัยจากน้ำมันทอดซ้ำ สู่พลังงานทางเลือกไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 700 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆ 100 บาท เป็นเงิน4,000 บาท

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน2,800 บาท

-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์อบรม จำนวน 40 ชุดๆ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

-ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องน้ำมันทอดซ้ำ 500 แผ่น เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน13,300 บาท

วันที่.............. 08.30 น. – 08.50 น. - ลงทะเบียนหน้าห้องประชุม

08.50 น. – 09.00 น. - พิธีเปิด กล่าวรายงานโดย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

กล่าวเปิดโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

09.00น. – 10.30 น. - บรรยายหัวข้อ พิษภัยจากน้ำมันทอดซ้ำ

โดย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละงู

10.30น. – 12.00 น. - สาธิต/ปฏิบัติการทำน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว

โดย .............

12.00น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. – 17.30 น. - สาธิต/ปฏิบัติการทำน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว (ต่อ)

โดย ............

ตอบข้อซักถาม

17.30 น. - เสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันทอดซ้ำและขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมน้ำมันพืชใช้แล้วแลกไข่

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมน้ำมันพืชใช้แล้วแลกไข่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 6 ผืนๆ 700 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/ สิ่งของจำเป็นใช้อื่นๆเช่น ไข่ไก่ ถังพลาสติกเก็บน้ำมันใช้แล้ว สติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ติดถังน้ำมัน
    เป็นเงิน25,800 บาท

รวมเป็นเงิน 22,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีน้ำมันพืชใช้แล้วสำหรับใช้ผลิตไบโอดีเซล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22000.00

กิจกรรมที่ 4 ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว

ชื่อกิจกรรม
ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ เช่น
  • เมทิลแอลกอฮอล์
  • โซดาไฟ
  • ไส้กรองละเอียด
  • ถังเหล็กเก็บน้ำมันขนาด 200 ลิตรจำนวน 1 ถัง
  • ค่าถังพลาสติกแบบปากกว้างก้นกรวย จำนวน 2ถัง
  • ค่าจัดทำขาตั้งเหล็กสำหรับวางถังพลาสติกแบบก้นกรวย
  • ค่าจัดทำโครงเหล็กสำหรับติดมอเตอร์เครื่องกวน
    รวมเป็นเงิน 23,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยงานมีน้ำมันไบโอดีเซลไปใช้ประโยชน์ ใส่เป็นเชื้อเพลิงรถบรรทุก หรือใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 73,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำและลดโอกาสเกิดโรคที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ

2. หน่วยงานมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องยนต์ทางเกษตร หรือรถบรรทุก

3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

4. น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้มีคุณภาพตามตามเกณฑ์มาตรฐาน


>