กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเปลี่ยนภัยน้ำมันทอดซ้ำ สู่พลังงานทางเลือกไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา ประจำปี 2566
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มคน
1.นายรัฐการ ลัดเลีย

2.นายตรา เหมโคกน้อย

3.ปรีชา ปันดีกา

4.นายเอกนรินทร์ลัดเลีย

5.นายณรงค์ ปากบารา
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การใช้น้ำมันทอดซ้ำจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นไขมันที่ถูกออกซิไดซ์ปริมาณสูงอาจทำให้ ไลโปโปรตีน ชนิดแอลดีแอล มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ ส่วนไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหาร หากสูดดมเป็นระยะเวลานานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอด จากการศึกษาพบว่า มีกลุ่มสารก่อมะเร็งเกิดขึ้นในน้ำมันทอดซ้ำ ได้แก่ กรดไขมันไซคลิก ไตรกลีเซอไรด์อัลดีไฮด์ ไตรกลีเซอไรด์ไฮโดรเปอร์ออกไซด์, อัลดีไฮด์ และ โพลีไซคลิกอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำหรือในน้ำมันที่ใช้ทอดมีปริมาณสารโพลาร์เกินกว่า 25% จะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกาย อาทิเช่น ทำให้เกิดโรคหัวใจ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
ในปัจจุบันมีการศึกษาทดลองจำนวนมากเกี่ยวกับการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง เช่น ทำสบู่หรือทำน้ำมันหล่อลื่น โดยผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ เป็นต้น แต่เรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบันคือ การผลิตไบโอดีเซล จากน้ำมันพืชใช้แล้วซึ่งมีข้อดีเหนือปิโตรดีเซลหลายด้านทั้งความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่จำนวนมากภายในประเทศ ย้อนกลับไปในปี พ..ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล และโปรดเกล้าให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและได้จดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มจัดทำ “ไบโอดีเซล” ในประเทศไทย ต่อมาได้มีกลุ่มบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ได้พัฒนาและสานต่อการทำไบโอดีเซลจนเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้สนใจเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมากนัก
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ มีจำนวน 7 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 10,811คน มีครัวเรือน 2,988ครัวเรือน มีสถานประกอบการที่พัก/รีสอร์ท ประมาณ 46 แห่ง, ร้านอาหารประมาณ 50 ร้าน, แผงลอยจำหน่ายไก่ทอด/ปาท่องโก/ของทอดต่างๆ ประมาณ 60 แผง เฉพาะแผงลอยของทอดคาดว่ามีน้ำมันพืชใช้แล้วไม่น้อยกว่าวันละ 250 ลิตร หรือ 7,500 ลิตรต่อเดือนโดยที่น้ำมันใช้แล้วของร้านแผงลอยจะมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อนำไปผลิตไบโอดีเซลส่วนภาคครัวเรือนคาดว่ามีน้ำมันพืชใช้แล้วประมาณวันละ 100 ลิตร หรือ เดือนละ 3,000 ลิตร หากน้ำมันพืชใช้แล้วของภาคครัวเรือนปล่อยทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัดอย่างถูกวิธีย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวต่อไป ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ จึงมีแนวคิดในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำในประชาชน ตลอดจนน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อช่วยลดปัญหาสุขภาพของประชาชนจากการใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว
    ตัวชี้วัด : ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้าลดโอกาสเสี่ยงจากการใช้นํ้ามันทอดซํ้า
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 85.00
  • 2. เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งน้ำมันพืชใช้แล้วลงสู่สิ่งแวดล้อม
    ตัวชี้วัด : ประชาชนได้ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งนํ้ามันพืชใช้แล้วลงสู่สิ่งแวดล้อม
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 85.00
  • 3. เพื่อนำน้ำมันพืชใช้แล้วแปรรูปให้เป็นน้ำมันไบโอดีเซลและนำไปใช้ในหน่วยงาน
    ตัวชี้วัด : หน่วยงานมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ประโยชน์
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 85.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การผลิตไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา
    รายละเอียด
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ที่จำเป็นที่ต้องใช้เตรียมการจัดเตรียมสถานที่
    1. ค่าเหล็กฉาก ไม้อัด พร้อมอุปกรณ์สำหรับทำชั้นวางของ
    2. ค่าผ้าใบยางสำหรับคลุมหลังคา ขนาด 8 x 5 เมตร
    3. ค่าป้ายไวนิล
    4. ค่าป้ายโฟมบอร์ด
    5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้อื่นๆ
      รวมเป็นเงิน 15,000 บาท
    งบประมาณ 15,000.00 บาท
  • 2. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องเปลี่ยนภัยจากน้ำมันทอดซ้ำ สู่พลังงานทางเลือกไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา
    รายละเอียด

    -ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 700 บาท

    -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆ 100 บาท เป็นเงิน4,000 บาท

    -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน2,800 บาท

    -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท

    -ค่าวัสดุอุปกรณ์อบรม จำนวน 40 ชุดๆ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

    -ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องน้ำมันทอดซ้ำ 500 แผ่น เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน13,300 บาท

    วันที่.............. 08.30 น. – 08.50 น. - ลงทะเบียนหน้าห้องประชุม

    08.50 น. – 09.00 น. - พิธีเปิด กล่าวรายงานโดย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

    กล่าวเปิดโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

    09.00น. – 10.30 น. - บรรยายหัวข้อ พิษภัยจากน้ำมันทอดซ้ำ

    โดย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละงู

    10.30น. – 12.00 น. - สาธิต/ปฏิบัติการทำน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว

    โดย .............

    12.00น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00 น. – 17.30 น. - สาธิต/ปฏิบัติการทำน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว (ต่อ)

    โดย ............

    ตอบข้อซักถาม

    17.30 น. - เสร็จสิ้นโครงการ

    งบประมาณ 13,300.00 บาท
  • 3. จัดกิจกรรมน้ำมันพืชใช้แล้วแลกไข่
    รายละเอียด
    • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 6 ผืนๆ 700 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/ สิ่งของจำเป็นใช้อื่นๆเช่น ไข่ไก่ ถังพลาสติกเก็บน้ำมันใช้แล้ว สติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ติดถังน้ำมัน
      เป็นเงิน25,800 บาท

    รวมเป็นเงิน 22,000 บาท

    งบประมาณ 22,000.00 บาท
  • 4. ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว
    รายละเอียด
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ เช่น
    • เมทิลแอลกอฮอล์
    • โซดาไฟ
    • ไส้กรองละเอียด
    • ถังเหล็กเก็บน้ำมันขนาด 200 ลิตรจำนวน 1 ถัง
    • ค่าถังพลาสติกแบบปากกว้างก้นกรวย จำนวน 2ถัง
    • ค่าจัดทำขาตั้งเหล็กสำหรับวางถังพลาสติกแบบก้นกรวย
    • ค่าจัดทำโครงเหล็กสำหรับติดมอเตอร์เครื่องกวน
      รวมเป็นเงิน 23,000 บาท
    งบประมาณ 23,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ ตำบลปากนํ้า ทั้ง7 หมู่บ้าน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 73,300.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ย

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำและลดโอกาสเกิดโรคที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ

  2. หน่วยงานมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องยนต์ทางเกษตร หรือรถบรรทุก

  3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

  4. น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้มีคุณภาพตามตามเกณฑ์มาตรฐาน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 73,300.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................