กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี หมู่ ..8.. ตำบลตลิ่งชันอำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป ในชุมชนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตะบิงติงงีรับผิดชอบมีร้านชำจำนวน 29 ร้านและมีร้านชำที่ขายเครื่องสำอางและยาจำนวน 25 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 86.21 ซึ่งในจำนวนร้านชำนี้จากการสอบถามยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ยาและเครื่องสำอางที่ถูกต้อง จำนวน 10ร้านคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งถือว่ายังน้อย ซึ่งหากร้านชำนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับยาอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80ร้อยละ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

ร้อยละ80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้คุณภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่.1.อบรมให้ความรู้แก่อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่.1.อบรมให้ความรู้แก่อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(2 มื้อ x 25 บาท x50คน) เป็นเงิน 2,500 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวัน(1 มื้อ x 50 บาท x 50 คน )เป็นเงิน 2,500 บาท 1.3 สัมมนาคุณวิทยากร(จำนวน1คน x 300 บาท 5ช.ม)เป็นเงิน 1,500 บาท 1.4 ค่าวัสดุจัดอบรม (3000) -ปากกา จำนวน 50 ด้าม x 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท -สมุด จำนวน 50 เล่มๆละ20 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท -แฟ้ม จำนวน 50 เล่มๆละ30 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับความรู้อย่างถูกต้อง และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่.2.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารและร้านขายของชำจำนวน 25 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่.2.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารและร้านขายของชำจำนวน 25 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  (2 มื้อ x 25 บาท x25 คน)                       เป็นเงิน 1,250 บาท 2.2 ค่าอาหารกลางวัน  (1 มื้อ x 50 บาท x 25 คน)                                    เป็นเงิน 1,250 บาท
2.3 สัมมนาคุณวิทยากร (จำนวน1คน x 300 บาท 5ชั่วโมง)                           เป็นเงิน 1,500 บาท 2.4 ค่าวัสดุจัดอบรม (750บ.) -ปากกา จำนวน 25 ด้าม x 10 บาท                                                        เป็นเงิน   250 บาท -สมุด จำนวน 25 เล่มๆละ20 บาท                                                          เป็นเงิน   500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านขายของชำ ได้รับความรู้อย่างถูกต้อง และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจร้านค้าเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขอบต.ตลิ่งชันและอสม.ในพื้นที่ จำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจร้านค้าเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขอบต.ตลิ่งชันและอสม.ในพื้นที่ จำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจร้านค้าเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้สำรวจร้านค้าในเขตพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับยาอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80
2. ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายยา ที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านขายของชำ
3. ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้คุณภาพ


>