กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี
รหัสโครงการ 66-L4123-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 14,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสีตีนุร อาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป ในชุมชนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตะบิงติงงีรับผิดชอบมีร้านชำจำนวน 29 ร้านและมีร้านชำที่ขายเครื่องสำอางและยาจำนวน 25 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 86.21 ซึ่งในจำนวนร้านชำนี้จากการสอบถามยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ยาและเครื่องสำอางที่ถูกต้อง จำนวน 10ร้านคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งถือว่ายังน้อย ซึ่งหากร้านชำนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับยาอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80ร้อยละ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

ร้อยละ80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้คุณภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,250.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่.1.อบรมให้ความรู้แก่อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 50 คน 0 9,500.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่.2.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารและร้านขายของชำจำนวน 25 คน 0 4,750.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 สำรวจร้านค้าเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขอบต.ตลิ่งชันและอสม.ในพื้นที่ จำนวน 2 วัน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับยาอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80
  2. ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายยา ที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านขายของชำ
  3. ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้คุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2566 00:00 น.