กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ ขยับกาย สบายชีวี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

ชมรมฟ้าใสตำบลตันหยงลุโละ

1. นางวิชยาสมาแอ0923433483
2. นางสาวเจะซารีปะห์เจะอุมา 0897390995
3. นางสาวแวเซาะมะ0898780288
4. นางสาวกามารียะห์เจะอุมา0620684739
5. นางสาวปาตือเราะห์ดอเลาะ0950944474

หมู่ที่ 2 บ้านตันหยงลุโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

10.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

5.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

90.00

ด้วยสถานการณ์โรคเรื้อรัง ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของคนในชุมชน และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัยที่ไม่พอเพียง ในพื้นที่ตำบลตันหยงลุโละมีกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)เพียงร้อยละ10 และมีกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) เพียงร้อยละ 5 ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนร้อยละ 90 จากสถิติทำให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ทำให้ร่างกายคนมีความอ่อนแอ และมีจิตใจที่ไม่เข้มแข็งคนในชุมชนขาดการส่งเสริมในด้านการเคลื่อนไหวทางกายอย่างต่อเนื่อง จากสภาพปัญหาข้างต้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบกลไก การขับเคลื่อนการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องที่หลากหลาย หลายรูปแบบ ที่เหมาะสมกับวัย เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีดรรชนีทางกาย(BMI)ที่มีค่าปกติเช่น การเคลื่อนไหวแบบท่ายืด, โยคะ, รำไม้พลอง การปั่นจักรยานรอบๆหมู่บ้าน การเก็บกวาดขยะทำความสะอาดตามสถานที่สำคัญๆในชุมชน และอื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ พลานามัย การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายแนวใหม่ รวมถึงการได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ใกล้เคียง เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการบำบัดเพื่อดูแลสุขภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันการเคลื่อนไหวทางกายด้วยวิธีหลากหลายรูปแบบ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ดังจะเห็นได้จากการมีชมรม กลุ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ มีข้อตกลงร่วมกัน ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ได้ใช้สถานที่ต่างๆในชุมชนให้เกิดประโยชน์ และการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้น รวมพลัง สร้างสิ่งจูงใจให้ชุมชน เกิดเครือข่ายการขยับทางกายต่างๆมากขึ้น ส่งผลคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
ชมรมฟ้าใสตำบลตันหยงลุโละ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพขยับกาย สบายชีวี ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการขยับกายด้วยการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เหมาะสม เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อันไม่พึงปรารถนาได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

10.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

5.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

90.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงคณะกรรมการชมรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงคณะกรรมการชมรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 16 คน = 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินสมรรถภาพทางกาย โดยการวัดค่า BMI ได้แก่ วัดส่วนสูง, ชั่งน้ำหนัก, วัดรอบเอว จำนวน 2 ครั้ง ก่อนและหลังดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินสมรรถภาพทางกาย โดยการวัดค่า BMI ได้แก่ วัดส่วนสูง, ชั่งน้ำหนัก, วัดรอบเอว จำนวน 2 ครั้ง ก่อนและหลังดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนจนท.ประเมินสมรรถภาพ จำนวน 2 ครั้ง x 2 คน x 300 บาท = 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 70 คน = 1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2950.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเพิ่มทักษะให้ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางกายแก่แกนนำและสมาชิกชมรม (PA)ให้แก่ - สมาชิกชมรมฯรายเก่า จำนวน 60 คน - สมาชิกรายใหม่ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 10 คน(เป้าหมาย)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเพิ่มทักษะให้ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางกายแก่แกนนำและสมาชิกชมรม (PA)ให้แก่ - สมาชิกชมรมฯรายเก่า จำนวน 60 คน - สมาชิกรายใหม่ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 10 คน(เป้าหมาย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 5 ชม. x 300 บาท x 1 คน = 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 70 คน = 3,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 70 คน = 3,500 บาท
  • ค่าวัสดุไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน  1 แผ่น ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร = 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9250.00

กิจกรรมที่ 4 ขยับกายด้วยการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย หลายรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง เช่น ท่ายืด, โยคะ, รำไม้พลอง ปั่นจักรยานรอบๆหมู่บ้าน อื่นๆ (ข้อตกลงสมาชิกปฏิบัติทุกเช้า วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 06.30 – 07.30 น.)

ชื่อกิจกรรม
ขยับกายด้วยการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย หลายรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง เช่น ท่ายืด, โยคะ, รำไม้พลอง ปั่นจักรยานรอบๆหมู่บ้าน อื่นๆ (ข้อตกลงสมาชิกปฏิบัติทุกเช้า วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 06.30 – 07.30 น.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนผู้นำการเคลื่อนไหวทางกาย  จำนวน 1 คน x 1 ชม. x 300 บาท x 20 วัน = 6,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับประกอบการเคลื่อนไหวทางกาย จำนวน 40 ชิ้นๆละ 100 บาท = 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 5 จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ใกล้เคียง เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการบำบัด เพื่อดูแลสุขภาพ แก่คณะกรรมการชมรม และแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ใกล้เคียง เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการบำบัด เพื่อดูแลสุขภาพ แก่คณะกรรมการชมรม และแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 28 คน = 1,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 28 คน = 1,400 บาท
  • ค่าเช่าเหมารถตู้ (ไป-กลับ)1,800 บาท X 1 วัน X 2 คัน = 3,600 บาท
  • ค่าของที่ระลึก = 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกและแกนนำชมรมมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะส่วนบุคคล
2. สมาชิกและแกนนำชมรมมีสุขภาพกายที่ดี ไร้โรคภัยไข้เจ็บ และการมีสุขภาพจิตที่ดี
3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
4.มีการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้


>