กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างแกนนำเยาวชนชุมชนเทศบาลเมืองสตูลป้องกันเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างแกนนำเยาวชนชุมชนเทศบาลเมืองสตูลป้องกันเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กลุ่มเยาวชนรักษ์พิมาน อ.เมือง จ.สตูล

นายเจริญพรไทยเจริญเบอร์โทร 062-4321975
น.ส.สาลินี ยีมะเตบ
นายนภัทร์ เริงนันทกร
นายอานีสอานับ
น.ส.ออมสิน อบทอง

เทศบาลเมืองสตูล ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยกลุ่มเยาวชนรักษ์พิมานได้ทำกิจกรรมกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูลที่ผ่านมาได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล คือขาดเด็กและเยาวชนเข้ามาร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งจะมีเด็กและเยาวชนจากพื้นที่อื่นเข้ามร่วมมากกว่า ส่วนหนึ่งที่จะแก้ปัญหาได้คือการร่วมกลุ่มของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูลให้ได้หรือสร้างแกนนำเยาวชนแต่ละชุมชนฯละ๓คนให้เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อให้เกิดพลังเยาวชนพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล ปี พ.ศ.2566-2568 กลุ่มเยาวชนรักษ์พิมานร่วมกับกลุ่มสานฝันเยาวชนสตูลมีเป้าหมายสร้างแกนนำเยาวชนนักรณรงค์เหล้า บุหรี่ ยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ 34 ตำบลในพื้นที่จังหวัดสตูลระยะเวลา 3 ปีมาขับเคลื่อนงานประเด็นสุขภาพการป้องกันนักดื่ม นักสูบ นักเสพหน้าใหม่ ท้องไม่พร้อม และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชนแต่ละพื้นที่ ปี พ.ศ.2556 ที่ผ่านมากลุ่มเยาวชนรักษ์พิมานร่วมกับกลุ่มสานฝันเยาวชนสตูลได้สร้างแกนนำเยาวชนไปแล้ว 7 ตำบล ได้แก่ต.ควนขัน ต.คลองขุด ต.ตันหยงโป ต.เจ๊ะบิลัง ต.บ้านควน ต.ควนโดน และต.กำแพงทั้ง 7 ตำบลได้มีการร่วมกลุ่มทำกิจกรรมภายในตำบลของตนเองปี พ.ศ.2566 กลุ่มเยาวชนทั้ง 7 ตำบลได้จัดทำโครงการของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลของตนเองจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล(สปสช)เพื่อขยายสร้างแกนนำเยาวชนแต่ละหมู่บ้านมาร่วมเป็นกลุ่มเยาวชนระดับตำบลต่อไป ปี พ.ศ.2566 กลุ่มเยาวชนรักษ์พิมานมีความประสงค์จะขยายพื้นที่สร้างแกนนำเยาวชน 20 ชุมชนเทศบาลเมืองสตูลโดยจะขอการสนับสนุนจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล(สปสช) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจัดทำโครงการในครั้งนี้
จากสถานการณ์เยาวชน
เด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มที่ขาดโอกาสการทำกิจกรรม ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งทุนขาดการร่วมกลุ่มทำประโยชน์ในพื้นที่ของตนเอง ขาดโอกาสติดต่อกับหน่วยงานรัฐหน่วยงานในพื้นที่ ปัจจุบันนี้เด็กและเยาวชนในจังหวัดสตูลมีพฤติกรรมความเสี่ยงมากมาย เช่น การมั่วสุมยาเสพติด(น้ำกระท่อม) ท้องไม่พร้อมของจำนวนเยาวชนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่เด็กและเยาวชนอายุ 8-18 ปี การขับขี่รถจักยานยนต์ไม่ส้วมหมวกกันน๊อก ขับรถฝ่าฝืนกฏจราจรแต่ละพื้นที่เด็กและเยาวชนขาดการรวมกลุ่มขาดพื้นที่ทำกิจกรรม ขาดงบประมาณทำกิจกรรมขาดที่ปรึกษา เป็นต้นพฤติกรรมการรวมกลุ่มเยาวชนทางด้านสังคม เช่น รวมกลุ่มเล่นกีฬา,รวมกลุ่มจัดกิจกรรม รวมกลุ่มเด็กแว่นหรือเด็กที่ไม่เรียนหนังสืออาจนำไปสู่การมั่วสุมยาเสพติดการพนันดื่มเหล้า ท้องไม่พร้อมและสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทั้งด้านพฤติกรรมความเสี่ยงของเด็กและเยาวชน จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น กลุ่มเยาวชนรักษ์พิมาน ทำประเด็นการป้องกันสกัดนักสูบ นักเสพ นักดื่มหน้าหน้าใหม่การตั้งครรภ์ (ท้องไม่พร้อม อายุ 8-18 ปี)
ในขณะที่สาเหตุหรือปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทำพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งในแง่พฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมสร้างสรรค์มาจากปัจจัย ดังนี้
1.กลุ่มเพื่อน > ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่นในด้านต่าง ๆ ทั้งการเล่น การสนทนาพูดคุย การรับมือกับการถูกไม่ยอมรับจากเพื่อนในกลุ่ม การเลียนแบบท้าทาย เช่น การท้าทายให้สูบบุหรี่เสพยาเสพติด เรียนไม่จบ ม.3 หรือ ม.6 หรือแม้กระทั่งพัฒนาตนเองมีความแข็งแกร่งขึ้น อาทิเช่นการเรียนให้เก่งการเล่นกีฬาให้เก่ง เป็นต้น โดยทั้งหมดเป็นไปเพื่อต้องการได้รับการยอมรับนับถือจากกลุ่มเพื่อนทั้งสิ้น
2. ครอบครัว > การดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัว คือ เกาะป้องกันอย่างดีครอบครัวสามารถเป็นตัวชี้นำให้เยาวชนเลือกพฤติกรรมการรวมกลุ่มได้ไม่ว่าจะเป็นด้านดี หรือด้านลบ
3. สภาพแวดล้อม > เป็นปัจจัยหลักสำคัญต่อพฤติกรรมความเสี่ยงของเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นสังคมความรุนแรงในชุมชน หรือ สังคมการเรียนรู้ที่ดีซึ่งจะนำไปสู่การปรับพฤติกรรมของเยาวชน
ผลกระทบของพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชนนอกระบบได้แก่ ไม่ทำงาน/ขาดรายได้เป็นภาระของพ่อ-แม่ เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ท้องไม่พร้อมไม่มีวุฒิภาวะในการเป็นหัวหน้าครอบครัวและอบรมเลี้ยงดูลูกไม่ได้ มีพฤติกรรมลักขโมย พฤติกรรมทะเลาะวิวาท และสุขภาพไม่ดีเกิดโรคมากมายและมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของวัยรุ่นตามมาอีกด้วย
ขณะเดียวกัน ในแง่พฤติกรรมสร้างสรรค์ก็ยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรค เช่น ขาดการสนับสนุนทั้งในด้านการริเริ่มและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ขาดที่ปรึกษา ไม่มีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เยาวชนสนใจให้ทำ/เข้าร่วม เกิดความท้อถอยในการรวมตัวทำกิจกรรมสร้างสรรค์ จนอาจจะนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงได้
ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นในแต่ละประเด็นดังกล่าวจึงต้องมีการแก้ไข้ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กเยาวชนและผู้ปกครองโดยมีกิจกรรมดังนี้ /กิจกรรมที่ 1 เวทีประชุมสร้างความเข้าใจในแกนนำเยาวชนและที่ปรึกษา 20 ชุมชน โดยมีแกนนำเยาวชนเข้าร่วมชุมชนละ 1 คน ที่ปรึกษาชุมชนละ 1 คนรวม 20 คน/กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพและให้ความรู้เรื่องเหล้า บุหรี่ และยาเสพติดกับแกนนำเยาวชน 20 ชุมชนฯละ 3 คน รวม 60 คน คณะทำงาน 5 คน รวมทั้งหมด 65 คน ระยะเวลา 2/กิจกรรมที่ 3 จิตอาสาพัฒนาสถานที่สาธารณะประโยชน์และศาสนสถานระยะเวลา 3 เดือน จำนวน 65 คน /กิจกรรมที่ 4 เวทีถอดบทเรียนสรุปโครงการภายใต้ชื่อ “สร้างแกนนำเยาวชนชุมชนเทศบาลเมืองสตูลป้องกันเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสียงอื่นๆ” ปี 66 ช่วงก่อนปิดโครงการจำนวน 25 คน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเยาวชนในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล กลุ่มเยาวชนรักษ์พิมานจะสามารถช่วยสนับสนุนและผลักดันให้โครงการสามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้จึงได้จัดทำโครงการสร้างแกนนำเยาวชนชุมชนเทศบาลเมืองสตูลป้องกันเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆผลจากการทำโครงการหรือทำกิจกรรมก่อให้เกิดการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันปัญหาปัจจัยเสียงต่างๆ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด การตั้งครรภ์(ท้องไม่พร้อม)ติดเกมและการพนันออนไลน์ 60 คนเกิดที่ปรึกษาเยาวชนแต่ละชุมชนจำนวน 20 คน เกิดเครือข่ายผู้ปกครองจำนวน 60 ครอบครัวเกิดพื้นที่ปลอดเหล้าปลอดบุหรี่เกิดพื้นที่ชุมชนตัวอย่าง 5 ชุมชนและเกิดเครือข่ายเด็กและเยาวชน 20 ชุมชนงานรณรงค์หรืองานสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันปัญหาการสูบบุหรี่ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันปัญหาเด็กและเยาวชนต่อไป
1.ชุนชนโรงพระสามัคคี2.ชุมชนหลังโรงพัก3.ชุมชนคลองเส็นเต็น4.ชุมชนซอยม้าขาว
5.ชุมชนทุ่งเฉลิมสุขชน6.ชุมชนจงหัว 7.ชุมชนห้องสมุด 8.ชุมชนบ้านโคกพยอม
9.ชุมชนสี่แยกคอกเป็ด10.ชุมชนปานชูรำลึก11.ชุมชนชนาธิป12.ชุมชนสันตยาราม
13.ชุนชนบ้านหัวทาง 14.ชุมชนท่านายเนาว์ 15.ชุมชนเมืองพิมาน 16.ชุมชนซอยปลาเค็ม
17.ชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก18.ชุมชนเทศบาล 19.ชุมชนบ้านศาลากันตง20.ชุมชนท่าไม้ไผ่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนให้มีจิตอาสา ทำงานเพื่อสังคมและส่วนร่วม 20 ชุมชน

เกิดแกนนำเยาวชนให้มีจิตอาสา 20 ชุมชนฯละ 3 คน จำนวน 60 คน

10.00 60.00
2 เพื่อให้ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องเหล้า บุหรี่ และยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆแก่เยาวชน 20 ชุมชน

เกิดความตระหนักรู้พิษภัยเหล้า บุหรี่ และยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆให้เด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 13-18 ปี 20 ชุมชนฯละ 3 คน จำนวน 60 คน (แบบทดสอบความรู้ความตระหนัก) ประเมินความรู้ความเข้าใจอยู่ในเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเวทีประชุมสร้างความเข้าใจในแกนนำเยาวชนและที่ปรึกษา 20 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเวทีประชุมสร้างความเข้าใจในแกนนำเยาวชนและที่ปรึกษา 20 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยมีแกนนำเยาวชนเข้าร่วมชุมชนละ 1 คน ที่ปรึกษาโครงการชุมชนละ 1 คนรวม 40 คน คณะทำงาน 5 คน
1.เพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมที่มีในของโครงการ และรับฟังข้อเสนอแนะ ระดมความคิดเห็น
2.เพื่อประชุมออกแบบกิจกรรม ปฏิทินงาน วางแผน และกระบวนการทำงาน
3.ใช้แบบสอบถามประเมินของผู้เข้ารวมอบรมแต่ละคนมีพื้นฐานของการเป็นผู้นำการทำงานจิตอาสา การทำสันทนาการที่ผ่านมามีความรู้ความเข้าใจขนาดไหน
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 45 คนๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 คนๆละ 45 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1x3 เมตร ตร.ม.ละ 150 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 17 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำเยาวชน 20 คน มีความรู้เข้าใจในโครงการ และสามารถเป็นผู้นำในการทำงานจิตอาสาและสามาถทำกิจกรรมสันทนาการได้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพและให้ความรู้เรื่องเหล้า บุหรี่และยาเสพติดกับแกนนำเยาวชน 20 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพและให้ความรู้เรื่องเหล้า บุหรี่และยาเสพติดกับแกนนำเยาวชน 20 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชุนชนๆละ 2 คน รวม 40 คน คณะทำงาน 5 คน รวมทั้งหมด 45 คน ระยะเวลา 2 วัน
1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเหล้า บุหรี่และพิษภัยของยาเสพติดและวิธีการปฏิเสธและเอาตัวรอดในสังคมปัจจุบันเพื่อไม่ให้ตัวเองไปยุ่งเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง
2.เพื่อสร้างการเป็นผู้นำ หัวข้อการอบรมมีดังนี้ การเสียสละทำงานกับคนอื่นกิจกรรมสันทนาการกิจกรรมทำฐานกิจกรรมกิจกรรมการวางแผนงานเพื่อจะไปลงมือปฏิบัติพื้นที่สร้างสรรค์โดยเยาวชนเป็นคนออกแบบการทำกิจกรรม
3.พัฒนาเรื่องความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สุขภาพ
4.การเป็นผู้นำการทำงานเป็นจิตอาสา
5.ช่วงบ่ายแบ่งกลุ่มระดมความคิดและสะท้อนสิ่งที่ได้จากการให้ความรู้ของวิทยากรในช่วงเช้าเพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ในการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 45 คนๆละ 60 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,400 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 45 คนๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท
-อบรมการเป็นผู้นำการทำงานจิตอาสา(ค่าวิทยากร) 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
-อบรมให้ความรู้เรื่องเหล้า บุหรี่และยาเสพติด 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
-อบรมการออกแบบกิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์และกิจกรรมรณรงค์การติดป้ายสถานที่ต่างๆ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
-เอกสารประกอบการอบรมจำนวน 40 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าไวนิล 1 ป้าย เมตรละ 150 บาทขนาด 1 เมตร x 3 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
กำหนดการอบรม
วันที่ 1
08.30 - 09.00 น ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น อบรมให้ความรู้ เรื่อง เหล้าบุหรี่ยาเสพติด
12.00 - 13.00 น รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น

วันที่ 2
08.30 - 09.00 น ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น อบรมให้ความรู้ เรื่อง เหล้าบุหรี่ยาเสพติด
12.00 - 13.00 น รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำเยาวชน 60 คน สามารถออกแบบกิจกรรมได้เองและสามารถต่อยอดให้กับเยาวชนเพื่อให้เกิดประโยชน์และใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสถานที่สาธารณะประโยชน์และศาสนสถาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสถานที่สาธารณะประโยชน์และศาสนสถาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ระยะเวลา 3 เดือน จำนวน 45 คน เดือนละ 1 ครั้ง
1.แกนนำเยาวชนทั้ง 40 คน และแกนนำกลุ่ม 5 คน มารวมตัวทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สถานที่ต่างๆที่เยาวชนเสนอในตำบลพิมาน ติดป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในสถานศึกษา วัด มัสยิด และสถานที่ราชการ
2.ให้เด็กและเยาวชนได้มีเวลาพบปะพูดคุยกันมากขึ้นและลดเวลาว่างและได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสร้างแกนนำเยาวชนในการทำกิจกรรมรณรงค์เหล้า บุหรี่และป้องกันภัยยาเสพติด
3.ติดป้ายรณรงค์เอาชนะเหล้า บุหรี่และยาเสพติดในสถานศึกษาในตำบลพิมาน เพื่อแสดงถึงพลังและความมีส่วนร่วมในการป้องและเอาชนะภัยยาเสพติดของเยาวชนในตำบลพิมาน
-ค่าอาหาร(ว่าง)และเครื่องดื่ม 45 คนๆละ 25 บาท จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 3,375 บาท
-ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ขนาด 1x3 เมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 สิงหาคม 2566 ถึง 22 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำเยาวชน 60 คน สามารถรวมกลุ่มทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และสามารถพูดคุยพบปะกันเอง รวมไปถึงการทำสื่อประชาสัมพันธ์ได้เองขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3825.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนสรุปโครงการภายใต้ชื่อ “สร้างแกนนำเยาวชนชุมชนเทศ บาลเมืองสตูลป้องกันเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดและปัจจัยเสียงอื่นฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนสรุปโครงการภายใต้ชื่อ “สร้างแกนนำเยาวชนชุมชนเทศ บาลเมืองสตูลป้องกันเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดและปัจจัยเสียงอื่นฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประจำปี 2566 ช่วงก่อนปิดโครงการจำนวน 25 คน
ชุมชนๆละ 2 คน แกนนำเยาวชน 1 คน ที่ปรึกษา 1 คน รวม 40 คน คณะทำงาน ระยะเวลา 1 วัน
- คณะทำงานสรุปวิเคราะห์แผนงาน/กลยุทธ์กระบวนการเพื่อการปรับปรุงหรือต่อยอดในอนาคต
- ค้นหาและถอดบทเรียนโครงการตัวอย่างกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีรูปแบบ กระบวนการหรือมีผลงานที่โดดเด่นน่าสนใจ เพื่อเป็นตัวอย่างการดำเนินงานและเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ อย่าง
- โดยเชิญตัวแทนพื้นที่โครงการทั้ง 20 ชุมชน ๆ ละ 2 คน
- สรุปบทเรียนการดำเนินงานของ “กลุ่มสานฝันเยาวชนสตูล”เพื่อนำไปขยายผลเป็นข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์แก่ (สนง.ความมั่นคงของมนุษย์)
- สรุปทำราย/รายงานการเงินโครงการ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 45 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 45 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท
- ค่าจัดทำรายงานรูปเล่มโครงการ และรายงานการเงิน จำนวน 2 เล่มๆละเป็นเงิน 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำเยาวชนสามารถทำรายงานสรุปโครงการพร้อมไปกับการประชุมในการสรุปโครงการและสามารถต่อยอดให้การทำโครงการในครั้งต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,575.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่างๆสามารถถัวจ่ายได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดแกนนำเยาวชน 20 ชุมชนๆละ 3 คนรวม 60 คน
2.สร้างภูมิกันเรื่องเหล้า บุหรี่ และยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในเด็กและเยาวชน 20 ชุมชนๆละ 3 คน รวมเป็น 60 คน
3.เยาวชนมีความคิดริเริ่มงานชุมชนของตนเอง 10 ชุมชน
4.เกิดเครือข่ายกลุ่มเด็กและเยาวชน 20 ชุมชน
5.เกิดพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน รณรงค์เรื่องเหล้า บุหรี่ และยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในเด็กและเยาวชน 5 ชุมชน
6.เด็กและเยาวชนมีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนร่วม 20 ชุมชน
7.มีที่ปรึกษาเยาวชนพื้นที่ละ 1 ชุมชน รวม 20 ชุมชน
8.เด็กและเยาวชนมีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนร่วม จำนวน 60 คน


>