กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

1.นางสาวสิริรัตน์พรหมมินทร์
2.นายเสริมขวัญนุ้ย
3.นางนันทภรณ์รุยันต์
4.นางหนูพร้อมด้วงเอียด
5.นายสุทินจันทระ

ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพ ของตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พบว่าโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และสารเคมีตกค้างในเลือด จากปัญหาสุขภาพดังกล่าว พบว่าในชุมชนมีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ต้องรับการบริการรักษาพยาบาลตลอดชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระของครอบครัวและเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้าง เพราะเกษตรการผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้าทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ การป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อที่สำคัญต่างๆ ที่สำคัญคือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง ๕ หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม การส่งเสริมรับประทานผัก ผลไม้อาหารที่มีกากใยมาก อาหารที่มีวิตามินสูง ซึ่งสามารถรับประทานได้จากผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ปลอดสารพิษที่สามารถปลูกรับประทานเองได้ในครัวเรือน เมื่อประชาชนใช้สารเคมีต่างๆในตำบลลดลงจะส่่งผลต่อการส่งเสริมให้มีสิ่งแวดล้อมดีในระยะยาวอีกด้วย และยังมีสิ่งสำคัญอีกประการคือการเฝ้าระวังติดตามประเมินดูแลผู้จำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในตำบลท่ามิหรำได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ

มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ร้อยละ 90

10.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/06/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้เรื่่องการจัดการผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารพิษและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้เรื่่องการจัดการผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารพิษและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้เรื่องการจัดการผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารพิษ และการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
- ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 จำนวน 4 ครั้งเป็นเงิน 14,400 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 200 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
- การปลูกผักก ผลไม้ปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน
-ค่าพันธ์ผัก ผลไม้ เป็นเงิน 16,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรุ้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างถูกต้อง
ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายปลูกพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน
ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถกำจัดขยะได้ถุกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการอบรมแกนนำในหมู่บ้านและในโรคเรียนให้สามารถตรวจอาหารและร้านจำหน่ายอาหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคได้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมแกนนำในหมู่บ้านและในโรคเรียนให้สามารถตรวจอาหารและร้านจำหน่ายอาหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมอบรมแกนนำในหมู่บ้านและในโรคเรียนให้สามารถตรวจอาหารและร้านจำหน่ายอาหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคได้
  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท 3 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ค่าน้ำยาและอุปกรณ์สำหรับตรวจอาหารจำนวน 8,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของแกนนำในหมู่บ้านและในโรงเรียนมีความรุ้ความเข้าใจในการตรวจอาหารและประเมินด้านสุขาภิบาลอาหาร
ร้อยละ 90 ของร้านจำหน่ายอาหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภค จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ร้อยละ 90
2. กลุ่มเป้าหมายปลูกพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน ร้อยละ 80
3. กลุ่มเป้าหมายสามารถกำจัดขยะได้ถูกวิธีร้อยละ 80
4. แกนนำในหมู่บ้านและในโรงเรียนสามารถตรวจอาหารและร้านจำหน่ายอาหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคได้ต่อสุขภาพร้อยละ 90
5. ร้านจำหน่ายอหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภค จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ร้อยละ 90


>