กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 66-L3355-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มิถุนายน 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 84,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพ ของตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พบว่าโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และสารเคมีตกค้างในเลือด จากปัญหาสุขภาพดังกล่าว พบว่าในชุมชนมีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ต้องรับการบริการรักษาพยาบาลตลอดชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระของครอบครัวและเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้าง เพราะเกษตรการผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้าทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ การป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อที่สำคัญต่างๆ ที่สำคัญคือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง ๕ หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม การส่งเสริมรับประทานผัก ผลไม้อาหารที่มีกากใยมาก อาหารที่มีวิตามินสูง ซึ่งสามารถรับประทานได้จากผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ปลอดสารพิษที่สามารถปลูกรับประทานเองได้ในครัวเรือน เมื่อประชาชนใช้สารเคมีต่างๆในตำบลลดลงจะส่่งผลต่อการส่งเสริมให้มีสิ่งแวดล้อมดีในระยะยาวอีกด้วย และยังมีสิ่งสำคัญอีกประการคือการเฝ้าระวังติดตามประเมินดูแลผู้จำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในตำบลท่ามิหรำได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ

มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ร้อยละ 90

10.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 84,800.00 0 0.00
27 มิ.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้เรื่่องการจัดการผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารพิษและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี 0 51,000.00 -
27 มิ.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 กิจกรรมการอบรมแกนนำในหมู่บ้านและในโรคเรียนให้สามารถตรวจอาหารและร้านจำหน่ายอาหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคได้ 0 33,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ร้อยละ 90
2. กลุ่มเป้าหมายปลูกพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน ร้อยละ 80
3. กลุ่มเป้าหมายสามารถกำจัดขยะได้ถูกวิธีร้อยละ 80
4. แกนนำในหมู่บ้านและในโรงเรียนสามารถตรวจอาหารและร้านจำหน่ายอาหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคได้ต่อสุขภาพร้อยละ 90
5. ร้านจำหน่ายอหารสดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภค จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2566 09:38 น.