กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อสม.คุ้มครองผู้บริโภคคุ้มครองชุมชนปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

คณะทำงานศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ เทศบาลเมืองพัทลุง

1.นส.จุไรพร ไพรพฤกษ์
2.นางกุลวีร์ ตุลาธน
3.นางพรเพ็ญ เนียมสวัสดิ์
4.น.ส.นัทธ์กัญญ์สัมผัสนพพร
5.นางฉัฐม์ธนาพร เพ็ชรมณี

ตำบลคูหาสวรรค์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากสถานการณ์อาหารไม่ปลอดภัย จึงมีความจำเป็นในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และสร้างพัฒนาศักยภาพขยายเครือข่าย

 

40.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

-ผลิตภัณฑ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยมากกว่าร้อยละ 80 -มีผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย น้อยกว่าร้อยละ 20

40.00 80.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เกิดเครือข่ายคุ้มครองผู้คุ้มครองผู้บริโภคและมีศูนย์เรียนรูู้เคลื่อนที่ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
  • ผลิตภัณฑ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยมากกว่าร้อยละ 80
  • มีผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยน้อยกว่าร้อยละ 20
  • อสม. และ อย.น้อย มีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและมีการดำเนินงานด้านคุ้มคลองผู้บริโภคในชุมชน
  • มีศูนย์เรียนรู้เครื่อนที่ด้านคุ้มคลองผู้บริโภค เทศบาลเมืองพัทลุง อย่างน้อย 1 หน่วย และมีอสม. นักวิทย์ ฯ ทุกชุมชนในเทศบาลเมืองพัทลุง
40.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ซุ้มขายเครื่องดื่ม 20
ตลาดสด 4 แห่ง4 4
ร้านชำ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ โดย อสม.นักวิทย์ร่วมกับเภสัชกรพี่เลี้ยง ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 25 คน รวมเป็นเงิน 625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.การมอบหมายงาน
2.วางแผนการดำเนินงานของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจร้านชำ 45 ชุมชน จำนวน 145 ร้าน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจร้านชำ 45 ชุมชน จำนวน 145 ร้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจผลิตภัณฑ์หมดอายุเสื่อมสภาพ ไม่ปลอดภัย ไม่มี อย.หรือสวม อย.ปลอม ขายยาอันตรายที่ห้ามขายในร้านชำ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 25คน เป็นเงิน 1,250 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,500บาท รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 8 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยในร้านชำ
2.ร้านที่รับ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

กิจกรรมที่ 3 อบรม อย.น้อยในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง

ชื่อกิจกรรม
อบรม อย.น้อยในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม อย.น้อยในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 25คน เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,500บาท รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2566 ถึง 5 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้ความรู้แก่นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง เพื่อเกิดมี อย.น้อย เป็นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ในครอบครัว และชุมชน จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจอาหารและยารอบรั้วโรงเรียน, วัด และมัสยิด

ชื่อกิจกรรม
ตรวจอาหารและยารอบรั้วโรงเรียน, วัด และมัสยิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ตรวจอาหารที่เสื่อมสภาพ หมดอายุ ไม่ปลอดภัย สารบอแรกซ์ในไส้กรอก, ลูกชิ้นทอด -ตรวจยาที่เสื่อมสภาพ หมดอายุ ตรวจสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ในวัด, มัสยิด -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 25คน เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,500บาท รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2566 ถึง 26 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ -เพื่อให้วัดและมัสยิดปราศจากยาอันตรายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร จากตลาดสด 4 แห่ง ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร จากตลาดสด 4 แห่ง ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บตัวอย่าง ผักสด, ผลไม้, อาหารทะเล, เนื้อสัตว์ นำมาตรวจสารปนเปื้อน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 25คน เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,500บาท รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 3 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการเฝ้าระวัง การนำอาหารที่มีสารปนเปื้อนมาบริโภค แนะนำการทำความสะอาดผักให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

กิจกรรมที่ 6 ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ จากร้านขายอาหารประเภททอด จากหาบเร่แผงลอยในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 47 ร้าน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ จากร้านขายอาหารประเภททอด จากหาบเร่แผงลอยในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 47 ร้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บตัวอย่างน้ำมันจากร้านหาบเร่แผงลอยที่ ขายอาหารประเภททอด มาตรวจปริมาณสารโพลาร์ มอบป้ายน้ำมันทอดซ้ำปลอดภัยแก่ร้านที่มีปริมาณสารโพลาร์ในเกณฑ์มาตรฐาน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 25คน เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,500บาท รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2566 ถึง 24 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ทำให้ผู้ประกอบการมีความรู้และเฝ้าระวัง เปลี่ยนน้ำมันไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายครั้ง -ผู้บริโภคมีความรู้ในการสังเกต และเลือกซื้ออาหารทอดจากร้านที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

กิจกรรมที่ 7 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับเภสัชกรพี่เลี้ยง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับเภสัชกรพี่เลี้ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ พัฒนาศักยภาพ ฟื้นฟูความรู้ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 25คน เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,500บาท รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 สิงหาคม 2566 ถึง 8 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 8 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เคลื่อนที่ อสม.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เคลื่อนที่ อสม.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าสื่อ, แผ่นพับ และ ป้ายอาหารปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 9 ตรวจและส่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจและส่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าชุดทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ตรวจพิสูจน์ ยาฆ่าแมลงในผัก, สารบอแรกซ์, ฟอร์มาลีน, สารกันรา, สารฟอกขาว, สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อการเฝ้าระวัง ให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,375.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน โดย อสม.เพื่อประชาชนในชุมชน เกิดระบบเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และคุ้มครองความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เขตพื้นที่เทศบาลเมืองพัทลุง และสามารถแจ้งเตือนภัยด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว


>