กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กอลำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กอลำ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ม.1-ม.5

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สาเหตุหนึ่งมาจากครัวเรือนมีการกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธี หรือปล่อยละเลยให้มีขยะทิ้งค้างไว้บริเวณบ้าน เมื่อมีน้ำขังจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้
ข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2566 (ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566) พบผู้ป่วยสะสม129 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 21.17 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานเสียชีวิต อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 4 อันดับ ได้แก่ อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอสายบุรี และอำเภอยะรัง ตามลำดับ โดยอำเภอยะรังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 17 ราย คิดเป็น 21.91 ต่อแสนประชากร ปัจจัยสนับสนุนอาจเกิดจากช่วงต้นปีมีฝนตกสลับช่วงร้อน จึงทำให้เกิดน้ำขัง ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ การเกิดโรคไข้เลือดออกหรือโรคที่เกิดจากยุงในพื้นที่ตำบลกอลำมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกปี โดยในปี 2565 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 1 ราย ณ หมู่ที่ 1 ตำบลกอลำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้อง

 

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 3.เพื่อให้เกิดการจัดการขยะและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

0.00
4 4.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2023 ถึง 30 กันยายน 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี
2 ประชาชนมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมในการจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกวิธี และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโรค
3 ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
4 ครัวเรือนและชุมชนมีการควบคุมและลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค


>