กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L3026-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 2 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 30,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสาวีนา มะดีเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 30,440.00
รวมงบประมาณ 30,440.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สาเหตุหนึ่งมาจากครัวเรือนมีการกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธี หรือปล่อยละเลยให้มีขยะทิ้งค้างไว้บริเวณบ้าน เมื่อมีน้ำขังจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ ข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2566 (ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566) พบผู้ป่วยสะสม129 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 21.17 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานเสียชีวิต อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 4 อันดับ ได้แก่ อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอสายบุรี และอำเภอยะรัง ตามลำดับ โดยอำเภอยะรังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 17 ราย คิดเป็น 21.91 ต่อแสนประชากร ปัจจัยสนับสนุนอาจเกิดจากช่วงต้นปีมีฝนตกสลับช่วงร้อน จึงทำให้เกิดน้ำขัง ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ การเกิดโรคไข้เลือดออกหรือโรคที่เกิดจากยุงในพื้นที่ตำบลกอลำมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกปี โดยในปี 2565 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 1 ราย ณ หมู่ที่ 1 ตำบลกอลำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้อง

 

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 3.เพื่อให้เกิดการจัดการขยะและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

0.00
4 4.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,440.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 30,440.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี 2 ประชาชนมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมในการจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกวิธี และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโรค 3 ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 4 ครัวเรือนและชุมชนมีการควบคุมและลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2566 00:00 น.