กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ตำบลลำสินธุ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

เทศบาลตำบลลำสินธุ์

หน่วยงานราชการ1

1) ห้องประชุมเทศบาลตำบลลำสินธุ์ 2) เทศบาลบ้านเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี 3) หอประชุมหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

 

91.41

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 (19) ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองโดยเฉพาะหน้าที่การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล รวมทั้งกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดและสำหรับด้านสุขภาพของประชาชนการได้นำสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ในชุมชนนับว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน

แกนนำสุขภาพ หมายถึง บุคลากรด้านสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยจะได้รับความรู้ผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดจึงเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ประชาชนและชุมชนได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการมีส่วนร่วมในงานสาธารณสุขมูลฐานพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพของประชาชนในตำบลลำสินธุ์ ซึ่งจากแนวคิดในปัจจุบัน ที่ส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม มองสุขภาพในเชิงสุขภาวะ คือ สุขภาพเกี่ยวข้องกับทุกปัจจัย การพัฒนาสุขภาพต้องพัฒนาไปพร้อมๆกับการพัฒนาด้านอื่นด้วย ดังนั้น แกนนำสุขภาพจึงต้องเพิ่มบทบาท ความรับผิดชอบ และพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาคน ให้เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมและการเมืองมากยิ่งขึ้น
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลลำสินธุ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาแกนนำสุขภาพตำบลลำสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ตำบลลำสินธุ์ขึ้น เพื่อให้เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะทางวิชาการ ความเข้าใจแก่ แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างพื้นที่แก่แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน บูรณาการการทำงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์

เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์ ทั้ง 9หมู่บ้าน

7.00 9.00
2 เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะทางวิชาการ ความเข้าใจแก่ แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน

แกนนำสุขภาพมีความรู้ ทักษะทางวิชาการ ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชนเพิ่มขึ้น

80.00 90.00
3 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างพื้นที่แก่แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน โรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน โรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชนต่างพื้นที่ สามารถนำมาปรับใช้กับชุมชนของตนเองได้

82.00 90.00
4 เพื่อบูรณาการการทำงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม

เกิดการบูรณาการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม

82.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 36
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลลำสินธุ์

1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 36 คน × 25  บาท ×  1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2566 ถึง 22 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมการอบรม 36 คน 2. เกิดความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน 3.ได้เห็นปัญหาและแนวทางที่ควรพัฒนาด้านสาธารณสุข ในตำบลลำสินธุ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเรียนรู้นวัตกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นอกสถานที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเรียนรู้นวัตกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นอกสถานที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเรียนรู้นวัตกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นอกสถานที่ ณ เทศบาลบ้านเชี่ยวหลาน
จ.สุราษฎร์ธานี เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำชุมชน แกนนำอสม. และผู้เกี่ยวข้อง 1)ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน × 3 ชม. ×  300 บาท เป็นเงิน 900 บาท 2)ค่าจ้างเหมายานพาหนะ (รสบัส) จำนวน 1 คัน ไป-กลับ  เป็นเงิน 30,000 บาท   จำนวน 2 วันๆละ 15,000 บาท 3)ค่าจัดจ้างทำป้ายโครงการ ขนาด 1  เมตรX  2 เมตร เป็นเงิน 400 บาท 4)ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 36 คน ×100 บาท ×  1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท 5)ค่าอาหารเย็น จำนวน 36 คน ×200 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน 7,200 บาท 6)ค่าที่พัก 1 คืน จำนวน 36 คนๆละ 750 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มิถุนายน 2566 ถึง 24 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 36 คน 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้นวัตกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนได้ 3.เกิดแนวคิดการพัฒนางานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมกันวางแผนหาแนวทางพัฒนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
69100.00

กิจกรรมที่ 3 พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำชุมชนที่ได้เข้าร่วมการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่นำแนวคิดมาประชุมถ่ายทอดให้กับชุมชน เพื่อวางแผนการพัฒนางานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 15 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมการประชุมในระดับหมู่บ้าน 2.เกิดการพัฒนางานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในระดับหมู่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีสรุปบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน ความสำเร็จและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชื่อกิจกรรม
เวทีสรุปบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน ความสำเร็จและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ พูดคุยปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข พร้อมกับประโยชน์ของโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 27 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.ได้ข้อสรุปประโยชน์ของโครงการ แนวทางการพัฒนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์
2.เกิดกลไกการพัฒนาเครือข่ายด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง
3.แกนนำสุขภาพได้ประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพประชาชนจนเกิดแนวคิดการในการพัฒนาระบบสุขภาพในตำบล
4. แกนนำสุขภาพสามารถบูรณาการการทำงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม


>