กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ตำบลลำสินธุ์
รหัสโครงการ 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลลำสินธุ์
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัชรี น้อยเต็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
91.41

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 (19) ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองโดยเฉพาะหน้าที่การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล รวมทั้งกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดและสำหรับด้านสุขภาพของประชาชนการได้นำสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ในชุมชนนับว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน

แกนนำสุขภาพ หมายถึง บุคลากรด้านสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยจะได้รับความรู้ผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดจึงเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ประชาชนและชุมชนได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการมีส่วนร่วมในงานสาธารณสุขมูลฐานพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพของประชาชนในตำบลลำสินธุ์ ซึ่งจากแนวคิดในปัจจุบัน ที่ส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม มองสุขภาพในเชิงสุขภาวะ คือ สุขภาพเกี่ยวข้องกับทุกปัจจัย การพัฒนาสุขภาพต้องพัฒนาไปพร้อมๆกับการพัฒนาด้านอื่นด้วย ดังนั้น แกนนำสุขภาพจึงต้องเพิ่มบทบาท ความรับผิดชอบ และพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาคน ให้เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมและการเมืองมากยิ่งขึ้น
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลลำสินธุ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาแกนนำสุขภาพตำบลลำสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ตำบลลำสินธุ์ขึ้น เพื่อให้เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะทางวิชาการ ความเข้าใจแก่ แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างพื้นที่แก่แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน บูรณาการการทำงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์

เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์ ทั้ง 9หมู่บ้าน

7.00 9.00
2 เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะทางวิชาการ ความเข้าใจแก่ แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน

แกนนำสุขภาพมีความรู้ ทักษะทางวิชาการ ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชนเพิ่มขึ้น

80.00 90.00
3 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างพื้นที่แก่แกนนำสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน โรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน โรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชนต่างพื้นที่ สามารถนำมาปรับใช้กับชุมชนของตนเองได้

82.00 90.00
4 เพื่อบูรณาการการทำงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม

เกิดการบูรณาการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม

82.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 70,000.00 0 0.00
22 มิ.ย. 66 กิจกรรมอบรมการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน 0 900.00 -
23 - 24 มิ.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้นวัตกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นอกสถานที่ 0 69,100.00 -
1 - 15 ก.ค. 66 พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน 0 0.00 -
27 ก.ค. 66 เวทีสรุปบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน ความสำเร็จและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแกนนำ/เครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลลำสินธุ์ 2.เกิดกลไกการพัฒนาเครือข่ายด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง 3.แกนนำสุขภาพได้ประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพประชาชนจนเกิดแนวคิดการในการพัฒนาระบบสุขภาพในตำบล
  2. แกนนำสุขภาพสามารถบูรณาการการทำงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการสุขภาพประชาชนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2566 00:00 น.