กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมความรุนแรงของโรคเบาหวาน ตำบลหนองเหล่า ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

1. นางสุพัฒน์วงษาศรี
2.นางสาวกาญจนาศักดิ์อาจ
3. นางสายธารจันทรสุข
4. นางสาวสุดารัตน์นนท์พละ
5. นางสาวอัญชลีทองติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

75.14
2 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างถูกต้อง

 

75.16
3 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

 

40.78

หลักการและเหตุผล
จากการปฏิรูประบบสุขภาพก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบระบบบริการ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหน่วยบริการที่ใกล้ชิดประชาชน และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอย่างสะดวก บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นผู้ที่ดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยและผู้พิการอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในเชิงรุกและเชิงรับมากขึ้น แต่การดำเนินงานดังกล่าวยังประสบปัญหา เนื่องจากบุคลากรมีจำกัด จาก ผู้ป่วยเรื้อรังรับบริการคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง มีการออกกำลังกายน้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ พฤติกรรมการรับประทานไม่เหมาะสม ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ทำให้สมรรถภาพทางร่างกายและภูมิต้านทานลดลง จึงควรที่จะมีการส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายมากขึ้น และรับประทานอาหารให้เหมาะสมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ได้เล็งเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรัง และเพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง ได้มีชีวิตยืนยาว มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลัก 3อ 2ส
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้จัดทำโครงการควบคุมความรุนแรงของโรคเบาหวาน ตำบลหนองเหล่า เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้สามารถให้การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ป้องกันโรคแทรกซ้อน จึงขอเสนอโครงการควบคุมความรุนแรงของโรคเบาหวาน ตำบลหนองเหล่า เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

75.14 80.00
2 เพื่อเพิ่มทักษะให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างถูกต้อง

75.16 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

40.78 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 256
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
1. ก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน 1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทราบ 1.3 วิเคราะห์ปัญหาและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 1 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
2. ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 การอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ดำเนินการตามวัน/ เดือน/ปี ที่นัดรับบริการ มีกิจกรรมดังนี้        - ลงทะเบียนผู้ป่วยรับบริการตามนัด (ชั่งน้ำหนัก  วัดความดันโลหิตสูง)
       - เจาะน้ำตาลในเลือด ลงผล แยกสมุดผู้ป่วยตามสี  ลงจุดกราฟเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (ผู้ป่วยเจาะเลือดเสร็จ รับประทานอาหารเช้า)        - เรียกวัดความดันซ้ำ ผู้ป่วยที่มีค่าความดันสูง กว่า 130/80 mm.hg        - ให้ความรู้ตามกลุ่มสี โดยบรรยาย/สาธิต/ปฏิบัติ /แลกเปลี่ยนเรียนรู้     - กลุ่มสีเขียว
     - กลุ่มสีเหลือง
          - กลุ่มสีส้มและแดง 2.2 กิจกรรมติดตามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน งบประมาณ รุ่นที่ 1 - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 85 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ        เป็นเงิน    4,250 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 85 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน    4,250  บาท - ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 600 บาท                                       เป็นเงิน       600 บาท - ค่าป้ายอบรม                          เป็นเงิน       500 บาท รุ่นที่ 2 - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 85 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ        เป็นเงิน    4,250 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 85 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน    4,250  บาท - ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 600 บาท                                       เป็นเงิน       600 บาท รุ่นที่ 3 - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 86 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ        เป็นเงิน    4,300 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 86 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน    4,300  บาท - ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 600 บาท                                       เป็นเงิน       600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยมีความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติตัว ตามหลัก 3อ2ส
  2. ผู้ป่วยมีความรู้และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคแทรกซ้อนได้
  3. ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ มาปฏิบัติตนและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27900.00

กิจกรรมที่ 3 3. ขั้นหลังดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
3. ขั้นหลังดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยมีความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติตัว ตามหลัก 3อ2ส
2. ผู้ป่วยมีความรู้และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคแทรกซ้อนได้
3. ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ มาปฏิบัติตนและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้


>