กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

1. นางสุพัฒน์วงษาศรี
2.นางสาวกาญจนาศักดิ์อาจ
3. นางสายธารจันทรสุข
4. นางสาวสุดารัตน์นนท์พละ
5. นางสาวอัญชลีทองติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

46.15
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

30.77
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

42.11
4 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

13.79
5 ร้อยละของเด็กทารกแรกเกิดถึง 2 ปี ได้รับการติดตามประเมินพัฒนาการและส่งเสริมด้านโภชนาการ

 

42.11

หลักการและเหตุผล
1,000 วันแรกของชีวิต เริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงเด็กอายุ 2 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญแห่ง กระบวนการพัฒนาการทางร่างกาย ทางสมอง อารมณ์และสังคม ส่งผลต่อทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ภาวะเตี้ย ภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการไม่สมวัย เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง โดยการเพิ่มเซลล์ สมอง ควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับกระบวนการ กิน นอน กอด เล่น เล่า จะทำให้ทารกเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด ผลการดำเนินงานคุณภาพด้านแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า จาก HDC ในปี พ.ศ. 2565 พบประเด็นเกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ 1.การฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80 2.การฝากครรภ์ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ร้อยละ 72,41 3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับ ยาเม็ดเสริมไอโอดีน ร้อยละ 100 4.เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 7.32 5.พัฒนาการ เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 100 และปัญหาการตั้งครรภ์ในสตรีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นปัญหาที่ควรติดตามเพราะการตั้งครรภ์ในกลุ่มสตรี นี้ของประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การตั้งครรภ์ในอายุต่ำกว่า 20 ปี นั้นทั้ง ที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามมีปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้แก่เพิ่มความเสี่ยงทางด้านสุขภาพของมารดา รวมถึงการติด เชื้อทางเพศสัมพันธ์และมารดามักมีปัญหาในการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง การ คลอดก่อนกำหนด การคลอดยาก ตกเลือดหลังคลอด บุตรไม่แข็งแรง ทารกน้ำหนักน้อย มีความบกพร่องใน ระบบประสาท ทางการศึกษา พบว่ามารดาที่ตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่จะจบการศึกษาช้ากว่า เพื่อนวัยเดียวกัน บางคนหยุดเรียนและเรียนไม่จบ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ บางคนไม่มีอาชีพ แต่ต้องคลอดลูก ออกมาเป็นภาระเลี้ยงดูบุตร ปัญหาทางด้านการหย่าร้าง เพราะสตรีกลุ่มนี้เป็นวัยที่ขาดความพร้อมทางด้านวุฒิ ภาวะ ทางสังคม และเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว
ผลกระทบต่อทารก การตั้งครรภ์ของสตรีกลุ่มนี้ ส่งผลให้เกิดการคลอดทารกน้ำหนักน้อยและอัตราการ ตายคลอดสูง ซึ่งอาจเกิดมาจากการไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ตรงตามนัด ภาวะโภชนาการและ พฤติกรรมไม่เหมาะสม ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า การสำรวจพบว่ามีสตรีอายุ น้อยกว่า 20 ปี มีการฝากครรภ์ในช่วงปี 2565 จำนวน 4 คน คิดเป็น ร้อยละ 9.75 ซึ่งมาจากมีเพศสัมพันธ์และแต่งงานเร็ว มีการคุมกำเนิดน้อยจากมารดาในกลุ่มอายุนี้พบว่ามีน้ำหนักแรกคลอด ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีการพัฒนาการช้ากว่าปกติ ยังพบอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจมากกว่า เด็กที่เกิดจากมารดาอายุ 20 ปีขึ้นไป อาจขาดการดูแลลูกที่ถูกต้อง บางคนฝากให้ญาติหรือคนอื่นเลี้ยง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาสตรี เด็กปฐมวัย แม่เกิดรอด ลูก ปลอดภัย เด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพดีต่อไป รวมทั้งป้องกันการตั้งครรภ์เตรียมความพร้อมในการมีบุตรในกรณีหญิง อายุน้อยกว่า 20 ปีและป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในสตรีกลุ่มนี้มีอีกด้วย และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็กแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลหนองเหล่าจึงได้จัดดำเนินโครงการ/กิจกรรมนี้ขึ้น จึงขอเสนอโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

46.15 80.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

30.77 80.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

42.11 80.00
4 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละของแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้น

13.79 80.00
5 เพื่อให้เด็กทารกแรกเกิด ถึง 2 ปี ได้รับการติดตามประเมินพัฒนาการและการส่งเสริมด้านโภชนาการ

ร้อยละของเด็กทารกแรกเกิดถึง 2 ปี ได้รับการติดตามประเมินพัฒนาการและส่งเสริมด้านโภชนาการ ร้อยละ 80

42.11 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 24
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
1. ก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน 1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทราบ 1.3 วิเคราะห์ปัญหาและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
2. ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ให้ความรู้เรื่องการฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ และความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับหญิงหลังคลอด และ  เด็กแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี 2.2 ติดตามประเมินภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด-อายุ 2 ปี โดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ทุกคน 2.3 ติดตามผลการดำเนินงาน งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 24 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ           เป็นเงิน  1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 24 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ    เป็นเงิน  1,200 บาท - จัดซื้อนม(รสจืด) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ (เสี่ยงต่อเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม)
   จำนวน 9 คน x ไม่น้อยกว่า 90 กล่องๆละ 12 บาท          เป็นเงิน  9,720 บาท
- จัดซื้อไข่ไก่  24 คนๆละ 1 ถาดๆละ x 120  บาท                            เป็นเงิน  2,880 บาท - ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 600 บาท                                          เป็นเงิน  1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ 80
  3. หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล ร้อยละ 80
  4. เด็กทารกแรกเกิดถึง 2 ปี ได้รับการติดตามประเมินพัฒนาการและส่งเสริมด้านโภชนาการ ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16200.00

กิจกรรมที่ 3 3. ขั้นหลังดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
3. ขั้นหลังดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ 80
3. หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล ร้อยละ 80
4. แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน ร้อยละ 80
5. เด็กทารกแรกเกิดถึง 2 ปี ได้รับการติดตามประเมินพัฒนาการและส่งเสริมด้านโภชนาการ ร้อยละ 80


>