กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกายบ้านเสียม หมู่ 6 ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวดอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกายบ้านเสียม หมู่ 6 ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวดอน

ประธานอสม.ม.6

1. นางผ่องแสงกุลพรหม
2. นางมณีวรรณ ขันชะลี
3. นางสังวร ไกรภูมิ
4. นางมณีโสภาพ
5. นางอุไรวรรณ ทองชุม

ศาลาประชาคม บ้านเสียม หมู่ 6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

82.64
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

80.42

กิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ ซึ่งประชาชนมีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง และในเด็กปฐมวัย วัยเด็ก และวัยรุ่น ควรจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในแต่ละวัน ประชาชนแต่ละวัย มีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ผู้ใหญ่ (18 - 59 ปี) ควรมีกิจกรรม ทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนัก อย่างน้อย 75 นาที ต่อสัปดาห์และกิจกรรมพัฒนาความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป) ควรมีกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่เพิ่มกิจกรรมพัฒนาสมดุลร่างกาย และป้องกันการหกล้ม อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุส าคัญของการเสียชีวิต จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ได้แก่ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคมะเร็ง โดยพบว่าการขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของทั้งโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย และก่อภาระค่าใช้จ่าย ทางสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกาย ยังส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ตอนต้น โดยส่งผลต่อการเรียนรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การเรียนรู้ในคาบเรียน ในด้านสมาธิ ความสนใจ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย ผลการสอบมาตรฐาน และคะแนนเฉลี่ยสะสม ในด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริม กิจกรรมทางกายในรูปแบบการท่องเที่ยวหรือการออกกำลังกาย ส่งผลดีในการกระตุ้นการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการกีฬา ด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวิธีการเดินทางที่ต้องออกแรง ได้แก่ การเดิน การปั่น จักรยาน การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล การสร้างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ สีเขียว เป็นการลดมลพิษทางอากาศ ประหยัดพลังงาน ลดเวลาการเดินทาง สร้างความเท่าเทียมด้านขนส่ง มวลชน และพัฒนาความเป็นอยู่และจิตใจของประชาชน ด้านสังคม กิจกรรมทางกายนำไปสู่การสร้างสังคมที่ดี ผ่านการเชื่อมร้อยบุคคล ในสังคม ให้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสม่าเสมอและยั่งยืน
บ้านแขม หมู่ 5 ตำบลหัวดอน มีผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ร้อยละ 82.64 ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีกิจกรรมทางกายยังไม่เพียงพอ อีกร้อยละ 17.36 และเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้มีแนวทางและการรวมกลุ่มที่สนับสนุนให้มีการส่งเสริมการออกกำลังกาย เกิดแกนนนำการออกกำลังกาย อันจะทำให้มีกิจกรรมทางกายที่ต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการสร้างสุขภาพของตนเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนได้

 

0.00
2 2. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ ในชุมชนต่อเนื่อง

 

0.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

82.64 90.00
4 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

80.42 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 176
กลุ่มผู้สูงอายุ 78
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 56
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน
  2. คัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมแกนนำออกำลังกาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 เมษายน 2566 ถึง 4 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้คณะกรรมการดำเนินโครงการ
  2. ได้ผู้ประสานงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมแกนนำออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมแกนนำออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คัดเลือกแกนนำเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาเป็นแกนนำออกำลังกาย จำนวน 60 คน
    ค่าอาหาร และอาหารว่าง คนละ 100 บาท จำนวน 60 คนรวม 6,000 บาท
  2. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเสียง
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มิถุนายน 2566 ถึง 9 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้กลุ่มเป้ายหมาย จำนวน 60 คน
  2. ได้อุปกรณ์เครื่องเสียง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 กลุ่มออกกำลังกายรวมกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนในทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มออกกำลังกายรวมกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนในทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รวมกลุ่มออกำลังกายที่ศาลาประชาคมหมู่บ้านในทุกเย็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ในกลุ่มที่สามารถรวมกลุ่มออกกำลังกายได้ ในกลุ่มที่ไม่สามารถมาร่วมออกกำลังกายกับกลุ่มได้แกนนนำออกกำลังกายออกติดตามชักชวนให้คนในชุมชนครัวเรือนรับผิดชอบได้มีการออกกำลังกาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน มีสุขภาพดี ลดภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) จัดกิจกรรมติดตามผลการตรวจสุขภาพ ค่าดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในเลือด
2) สำรวจพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย 3) สรุปประเมินผลพฤติกรรมออกกำลังกาย และสถานะสุขภาพ
4) จัดเวทีคืนข้อมูลในการประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วนลงพุง จำนวนลดลง
  3. ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการสร้างสุขภาพของตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนได้
2. เกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกาย รูปแบบต่างๆ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง


>