กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกายบ้านเสียม หมู่ 6 ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอสม.ม.6
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 176 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 78 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
82.64
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
80.42

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ ซึ่งประชาชนมีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง และในเด็กปฐมวัย วัยเด็ก และวัยรุ่น ควรจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในแต่ละวัน ประชาชนแต่ละวัย มีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ผู้ใหญ่ (18 - 59 ปี) ควรมีกิจกรรม ทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนัก อย่างน้อย 75 นาที ต่อสัปดาห์และกิจกรรมพัฒนาความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป) ควรมีกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่เพิ่มกิจกรรมพัฒนาสมดุลร่างกาย และป้องกันการหกล้ม อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุส าคัญของการเสียชีวิต จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ได้แก่ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคมะเร็ง โดยพบว่าการขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของทั้งโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย และก่อภาระค่าใช้จ่าย ทางสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกาย ยังส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ตอนต้น โดยส่งผลต่อการเรียนรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การเรียนรู้ในคาบเรียน ในด้านสมาธิ ความสนใจ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย ผลการสอบมาตรฐาน และคะแนนเฉลี่ยสะสม ในด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริม กิจกรรมทางกายในรูปแบบการท่องเที่ยวหรือการออกกำลังกาย ส่งผลดีในการกระตุ้นการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการกีฬา ด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวิธีการเดินทางที่ต้องออกแรง ได้แก่ การเดิน การปั่น จักรยาน การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล การสร้างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ สีเขียว เป็นการลดมลพิษทางอากาศ ประหยัดพลังงาน ลดเวลาการเดินทาง สร้างความเท่าเทียมด้านขนส่ง มวลชน และพัฒนาความเป็นอยู่และจิตใจของประชาชน ด้านสังคม กิจกรรมทางกายนำไปสู่การสร้างสังคมที่ดี ผ่านการเชื่อมร้อยบุคคล ในสังคม ให้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสม่าเสมอและยั่งยืน
บ้านแขม หมู่ 5 ตำบลหัวดอน มีผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ร้อยละ 82.64 ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีกิจกรรมทางกายยังไม่เพียงพอ อีกร้อยละ 17.36 และเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้มีแนวทางและการรวมกลุ่มที่สนับสนุนให้มีการส่งเสริมการออกกำลังกาย เกิดแกนนนำการออกกำลังกาย อันจะทำให้มีกิจกรรมทางกายที่ต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการสร้างสุขภาพของตนเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนได้

 

0.00
2 2. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ ในชุมชนต่อเนื่อง

 

0.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

82.64 90.00
4 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

80.42 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กลุ่มออกกำลังกายรวมกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนในทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ 0 0.00 -
28 เม.ย. 66 - 4 พ.ค. 66 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 0 0.00 -
8 - 9 มิ.ย. 66 จัดอบรมแกนนำออกกำลังกาย 0 6,000.00 -
1 - 15 ก.ย. 66 ติดตามประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการสร้างสุขภาพของตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนได้
  2. เกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกาย รูปแบบต่างๆ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2566 14:35 น.