กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานตำบลหนองเหล่า ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานตำบลหนองเหล่า ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

1.นางสุพัฒน์วงษาศรี
2.นางสาวกาญจนาศักดิ์อาจ
3.นางสาวสุดารัตน์นนท์พละ
4.นางสายธารจันทรสุข
5.นางสาวอัญชลีทองติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ลดลงจากเดิม

 

40.78
2 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรู้เรื่องเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกายและการขจัดความเครียด

 

40.22
3 ร้อยละศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

 

78.79

หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซุลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามรถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายดึงน้ำตาลออกจากเลือดได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยจะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาสะบ่อย ซึมเศร้า และอาจหมดสติ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมองได้ ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อม อันเกิดจากภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ สมรรถภาพในการทำงานลดลง ปัจจุบันเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาหายได้ แต่สามารถอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ใระดับปกติ โดยแพทย์จะจ่ายยาลดระดับน้ำตาล และยาควบคุมเบาหวาน ประกอบกับแนะนำการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ปวยเบาหวานที่สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ จะต้องสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c) ได้ คือจะต้องมีค่า HbA1c น้อยกว่า 7% ผลจากการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มักจะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในจำนวนที่สูงกว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ปีงบประมาณ 2563 - 2565 พบว่า ปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 268 คน ได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 236 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 127 คน คิดเป็นร้อยละ 47.39 ปีงบประมาณ 2564 มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 274 คน ไดรับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 230 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 107 คิดเป็นร้อยละ 39.05 ปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 256 คน ได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 256 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 115 คน คิดเป็น ร้อยละ 44.92 จากข้อมูลเบื้องต้น ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จำนวน 141 คน หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มทีจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ การได้รับการรักษาโรคเบาหวาน โดนการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะต้น จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงพฤติกรรมการดูแลเองที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการดูแลตนเองแบบยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ลดลงจากเดิม

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ลดลงจากเดิม

40.78 60.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรู้เรื่องเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกายและการขจัดความเครียด

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรู้เรื่องเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกายและการขจัดความเครียด

40.22 60.00
3 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ร้อยละศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

78.79 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 141
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน 1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทราบ 1.3 วิเคราะห์ปัญหาและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 การอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ด้านอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย และการขจัดความเครียด 2.2 กิจกรรมติดตามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 2 ครั้ง 2.3 เจาะเลือดเพื่อตรวจน้ำตาลสะสม (HbA1C) งบประมาณ รุ่นที่ 1
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 71 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ    เป็นเงิน  3,550 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 71 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน  3,550 บาท - ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 600 บาท                                       เป็นเงิน     600 บาท - ค่าป้ายอบรม                          เป็นเงิน     460 บาท
รุ่นที่ 2 - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ    เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 600 บาท                                       เป็นเงิน     600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจ ด้านอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย และการขจัดความเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15760.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นหลังดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นหลังดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80
2. ประชากรกลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 3
3. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเบาหวาน
4. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย และการขจัดความเครียดมากกกว่าร้อยละ 60


>