กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานตำบลหนองเหล่า ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2022 - 30 กันยายน 2023
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 141 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ลดลงจากเดิม
40.78
2 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรู้เรื่องเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกายและการขจัดความเครียด
40.22
3 ร้อยละศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
78.79

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซุลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามรถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายดึงน้ำตาลออกจากเลือดได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยจะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาสะบ่อย ซึมเศร้า และอาจหมดสติ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมองได้ ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อม อันเกิดจากภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ สมรรถภาพในการทำงานลดลง ปัจจุบันเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาหายได้ แต่สามารถอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ใระดับปกติ โดยแพทย์จะจ่ายยาลดระดับน้ำตาล และยาควบคุมเบาหวาน ประกอบกับแนะนำการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ปวยเบาหวานที่สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ จะต้องสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c) ได้ คือจะต้องมีค่า HbA1c น้อยกว่า 7% ผลจากการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มักจะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในจำนวนที่สูงกว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ปีงบประมาณ 2563 - 2565 พบว่า ปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 268 คน ได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 236 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 127 คน คิดเป็นร้อยละ 47.39 ปีงบประมาณ 2564 มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 274 คน ไดรับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 230 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 107 คิดเป็นร้อยละ 39.05 ปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 256 คน ได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 256 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 115 คน คิดเป็น ร้อยละ 44.92 จากข้อมูลเบื้องต้น ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จำนวน 141 คน หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มทีจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ การได้รับการรักษาโรคเบาหวาน โดนการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะต้น จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงพฤติกรรมการดูแลเองที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการดูแลตนเองแบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ลดลงจากเดิม

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ลดลงจากเดิม

40.78 60.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรู้เรื่องเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกายและการขจัดความเครียด

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรู้เรื่องเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกายและการขจัดความเครียด

40.22 60.00
3 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ร้อยละศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

78.79 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 141 15,760.00 1 15,760.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ขั้นดำเนินงาน 141 15,760.00 15,760.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80
  2. ประชากรกลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 3
  3. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเบาหวาน
  4. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย และการขจัดความเครียดมากกกว่าร้อยละ 60
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2023 13:13 น.