กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

1.นางสุพัฒน์วงษาศรี
2.นางสาวกาญจนา ศักดิ์อาจ
3.นางสาวสุดารัตน์นนท์พละ
4.นางสายธาร จันทรสุข
5.นางสาวอัญชลี ทองติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้

 

56.67
2 ร้อยละประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง

 

54.27
3 ร้อยละเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านขายยาร้านค้าร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

 

70.00

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด 11 หมู่บ้าน มีร้านค้า ร้านชำ ทั้งหมด 30 ร้าน และจากการสำรวจร้านค้า พบว่ามีร้านค้าร้านชำอีกหลายร้านที่นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมาขายให้แก่คนในชุมชนและจากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับพิษภัยของยา ปรากฏว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา จากการดำเนินงานเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคตลอดมา ได้เพียงให้คำแนะนำและให้ความรู้และยังไม่สามารถลดการนำปฏิชีวนะมาขายในชุมชนได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงคิดหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมชนมีความชัดเจนและสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ประจำปีงบประมาณ 2566 และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดและการใช้ยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัยครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ อย่างสมเหตุและสมผล

ร้อยละประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง

54.27 80.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน เช่นร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มิให้มีการลักลอบขายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์

ร้อยละเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านขายยาร้านค้าร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

70.00 100.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด และยาปฏิชีวนะ โดยไม่จำเป็น

ร้อยละผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้

56.67 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน 1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทราบ 1.3 วิเคราะห์ปัญหาและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำแผนการดำเนินงาน/จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 พัฒนาศักยภาพการใช้ยาในชุมชนโดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะและความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะ ยาชุดและยาสเตียรอยด์ 2.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้
  2. ประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง งบประมาณ รุ่นที่ 1

- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ    เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 600 บาท                    เป็นเงิน     600 บาท - ค่าป้ายอบรม                          เป็นเงิน     300 บาท รุ่นที่ 2 - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 50 บาทx 1 มื้อ    เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 600 บาท                    เป็นเงิน     600 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายในชุมชนตรวจสอบแหล่งกระจ่ายยาที่มีการสะสมยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ (ร้านขายยา ร้านค้า ร้านชำ ในชุมชนทุกร้าน)

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายในชุมชนตรวจสอบแหล่งกระจ่ายยาที่มีการสะสมยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ (ร้านขายยา ร้านค้า ร้านชำ ในชุมชนทุกร้าน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายในชุมชนตรวจสอบแหล่งกระจ่ายยาที่มีการสะสมยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ (ร้านขายยา ร้านค้า ร้านชำ ในชุมชนทุกร้าน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านขายยาร้านค้าร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ขั้นหลังดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นหลังดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้
2. ประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง
3. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านขายยาร้านค้าร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน


>