โครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ปีงบประมาณ 2566
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ปีงบประมาณ 2566 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า |
วันที่อนุมัติ | 1 ธันวาคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้ | 56.67 | ||
2 | ร้อยละประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง | 54.27 | ||
3 | ร้อยละเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านขายยาร้านค้าร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน | 70.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด 11 หมู่บ้าน มีร้านค้า ร้านชำ ทั้งหมด 30 ร้าน และจากการสำรวจร้านค้า พบว่ามีร้านค้าร้านชำอีกหลายร้านที่นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมาขายให้แก่คนในชุมชนและจากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับพิษภัยของยา ปรากฏว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา จากการดำเนินงานเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคตลอดมา ได้เพียงให้คำแนะนำและให้ความรู้และยังไม่สามารถลดการนำปฏิชีวนะมาขายในชุมชนได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงคิดหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมชนมีความชัดเจนและสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ประจำปีงบประมาณ 2566 และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดและการใช้ยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัยครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ อย่างสมเหตุและสมผล ร้อยละประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง |
54.27 | 80.00 |
2 | เพื่อให้คนในชุมชนร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน เช่นร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มิให้มีการลักลอบขายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ ร้อยละเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านขายยาร้านค้าร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน |
70.00 | 100.00 |
3 | เพื่อให้คนในชุมชนลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด และยาปฏิชีวนะ โดยไม่จำเป็น ร้อยละผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้ |
56.67 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,500.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 31 ธ.ค. 65 | ก่อนดำเนินการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 | ขั้นดำเนินงาน | 0 | 15,500.00 | - | ||
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 | เฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายในชุมชนตรวจสอบแหล่งกระจ่ายยาที่มีการสะสมยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ (ร้านขายยา ร้านค้า ร้านชำ ในชุมชนทุกร้าน) | 0 | 0.00 | - | ||
1 - 30 ก.ย. 66 | ขั้นหลังดำเนินการ | 0 | 0.00 | - |
- ผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้
- ประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง
- เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านขายยาร้านค้าร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566 14:29 น.