กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลหนองเหล่า ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเหล่า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองเหล่า

1.นางวันเพ็ญสืงสิงห์
2.นางรัตนาพิมพ์โสภา
3.นางเพ็ญนิตย์กำลังแรง
4.นางเกษรศรีสมุทร
5.นางสุภีพึ่งทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง

 

76.97
2 ร้อยละการเกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

70.00
3 ร้อยละประชาชนได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค

 

56.13
4 ร้อยละประชาชนได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก

 

75.12

หลักการเหตุผล
การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชน จำเป็นต้องมีเครือข่ายสุขภาพที่สำคัญ คือ อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.ที่ให้บริการแก่ชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อสม. คือประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีใจรักในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สมัครใจ และเต็มใจ ที่จะช่วยงานในชุมชนเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้านปฏิบัติงานด้วยความเสียสละซึ่งต้องผ่าน กระบวนการอบรมให้ความรู้ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอและจะต้องมีการพัฒนาด้านทักษะความรู้ให้ ทันต่อสภาพปัญหาด้านสาธารณสุข ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน โรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้นตลอดจนเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ชุมชน สามารถจัดระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสม ด้วยชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจาก หน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และ องค์กรต่างๆ
ปัจจุบันสถานภาพด้านสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โรคต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง รวม ไปถึงโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนมีเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต ทั้งที่เป็นโรคติดต่อและไม่ติดต่อ เป็นต้น การปฏิบัติงาน ของอสม.ในชุมชน จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมความรู้ ด้านวิชาการ ทักษะ การปฏิบัติงาน อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการศึกษาดูงาน เพื่อหา ประสบการณ์ต่างๆ ให้สามารถนำสิ่งที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานดูแลประชาชนในชุมชน ตาม กลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต่างๆในพื้นที่
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองเหล่า จึงจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำด้านสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 123 คน สังกัดเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสริมสร้างความเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานสุขภาพชุมชน การเฝ้าระวังและการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง

76.97 80.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน

ร้อยละการเกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

70.00 80.00
3 เพื่อการจัดการระบบสุขภาพ การรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง

ร้อยละประชาชนได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก

75.12 80.00
4 เพื่อให้เกิดการป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

ร้อยละประชาชนได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค

56.13 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 123
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการเพื่อขออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เตรียมความพร้อมวางแผนงานในการจัดประชุม สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วางแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมประชุมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมประชุมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้กับ อสม. ตามหลักสูตร โดยวิธีการบรรยาย อภิปราย สาธิต ฝึกปฏิบัติ  จำนวน 3 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 123 คนๆละ 50 บาท x 1 มื้อ x 3 วัน  เป็นเงิน 18,450 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 123 คนๆละ 25 บาท x2 มื้อx3 วัน  เป็นเงิน 18,450 บาท - ค่าวิทยากร 3 คนๆละ 600 บาท                    เป็นเงิน   1,800 บาท - ค่าเอกสารคู่มือแบบรายงานเดือนการปฏิบัติงานจำนวน123ชุดๆละ40บาท เป็นเงิน   4,920 บาท - ค่าป้ายโครงการ                            เป็นเงิน     380 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ อสม. ตามแบบ สมุดรายงานการปฏบัติงานของ อสม.ทุกเดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
2. เกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. ประชาชนได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค
4. ประชาชนได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก


>