กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลหนองเหล่า ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองเหล่า
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 44,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 123 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
76.97
2 ร้อยละการเกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
70.00
3 ร้อยละประชาชนได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค
56.13
4 ร้อยละประชาชนได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก
75.12

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการเหตุผล
การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชน จำเป็นต้องมีเครือข่ายสุขภาพที่สำคัญ คือ อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.ที่ให้บริการแก่ชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อสม. คือประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีใจรักในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สมัครใจ และเต็มใจ ที่จะช่วยงานในชุมชนเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้านปฏิบัติงานด้วยความเสียสละซึ่งต้องผ่าน กระบวนการอบรมให้ความรู้ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอและจะต้องมีการพัฒนาด้านทักษะความรู้ให้ ทันต่อสภาพปัญหาด้านสาธารณสุข ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน โรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้นตลอดจนเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ชุมชน สามารถจัดระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสม ด้วยชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจาก หน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และ องค์กรต่างๆ
ปัจจุบันสถานภาพด้านสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โรคต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง รวม ไปถึงโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนมีเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต ทั้งที่เป็นโรคติดต่อและไม่ติดต่อ เป็นต้น การปฏิบัติงาน ของอสม.ในชุมชน จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมความรู้ ด้านวิชาการ ทักษะ การปฏิบัติงาน อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการศึกษาดูงาน เพื่อหา ประสบการณ์ต่างๆ ให้สามารถนำสิ่งที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานดูแลประชาชนในชุมชน ตาม กลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต่างๆในพื้นที่
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองเหล่า จึงจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำด้านสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 123 คน สังกัดเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสริมสร้างความเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานสุขภาพชุมชน การเฝ้าระวังและการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง

76.97 80.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน

ร้อยละการเกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

70.00 80.00
3 เพื่อการจัดการระบบสุขภาพ การรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง

ร้อยละประชาชนได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก

75.12 80.00
4 เพื่อให้เกิดการป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

ร้อยละประชาชนได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค

56.13 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 123 44,000.00 1 44,000.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 จัดอบรมประชุมเชิงปฏิบัติการ 123 44,000.00 44,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
  2. เกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. ประชาชนได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค
  4. ประชาชนได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566 14:56 น.