กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กอลำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค (บ้านปูลากาซิง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กอลำ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปูลากาซิง

ม.4 ต.กอลำ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิต เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสม เพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการตามวัย อย่างไรก็ตามเด็กก่อนวัยเรียนต้องมีความจำเป็นที่ต้องฝากไว้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากเมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อ สู่กันได้ง่าย ในเด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อย ปัจจุบันมีโรคระบาดที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและติดเชื้อได้ง่ายในเด็ก เช่น โรคไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19 ,โรคไวรัส RSV , มือเท้าปาก ไข้เลือดออก เป็นต้น โรคเห่ลานี้ถ้าเกิดระบาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็ต้องมีความจำเป็นที่ต้องปิดศูนย์ฯ ผู้ปกครองต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงานขาดรายได้ จากเหตุผลดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปูลากาซิง จึงได้จัดทำโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดต่อซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต ในภายภาคหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค ติดต่อ เช่น โรคไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19,โรคไวรัส RSV , มือเท้าปาก ,ไข้เลือดออกและร่วมกันควบคุมการเกิดโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้ปกครองได้รู้จักกับโรคติดต่อ โรคไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19,โรคไวรัส RSV , มือเท้าปาก ไข้เลือดออก  และได้ร่วมกันควบคุมการเกิดโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่ออันจะมีผลต่อเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคติดต่ออย่างต่ออย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคติดต่อในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

อัตราการเกิดโรคติดต่อในเด็กลดลง

0.00
4 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค สุขภาพดี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 37
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อในเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อในเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9405.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,405.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อในเด็กเช่น
โรคไวรัสโคโรน่าหรือ โควิด 19,โรคไวรัส RSV , มือเท้าปากไข้เลือดออก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.มีกิจกรรมการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3.การเกิดโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
4.ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


>