กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ลดเสี่ยง ลดโรค (ความดัน เบาหวาน) คลองรี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสามสมัครสาธารณสุข ม.1 บ้านคลองรี

1. นางฮะสือนะ มะเซ็ง
2. นางมารียะห์ เจ๊ะอาแซ
3. นางจินดาพร ขวัญไฝ
4. นางคอลีเยาะ บือราเฮง
5. นางปิอะดอเลาะ

หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี ตำบลตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

136.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

136.00

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างการ เช่น ตา ไต หลอดเลือดสมอง ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก
ปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านาการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งทางการตลาด การสื่อสารและการการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ปัจจุบันและอนาคตปัญหาสุขภาพดูแนวโน้มแล้วปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน เป็นสำคัญ จากข้อมูลการคัดกรองเบื้องต้นของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยชมรมอสม. หมู่ที่ 1 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2563 – 2565 พบว่า
1. ผู้มีภาวะเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงในปี พ.ศ. 2563 คิดเ ป็นร้อยละ 23.14 (จำนวน 121 เสี่ยง 28) ปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 24 (จำนวน 75 เสี่ยง 18)และปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 26.72 (จำนวน 116 เสี่ยง 31)
2. ผู้มีภาวะเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานปี พ.ศ. 2563 คิดเ ป็นร้อยละ 6.61 (จำนวน 121 เสี่ยง 8) ปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 6.67 (จำนวน 75 เสี่ยง 5)และปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 7.76 (จำนวน 116 เสี่ยง 9)
จากข้อมูลการคัดกรองเบื้องต้นดังกล่าวประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีความจำเป็นและสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะควบคุมหรือเฝ้าระวังโรคความดันและเบาหวาน โดยการส่งเสริมองค์ความรู้หรือกิจกรรมต่างๆเพื่อลดอัตราความเสี่ยงที่เกิดเป็นโรคความดันและเบาหวานต่อไป
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคลองรี หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้ทำโครงการลดเสี่ยง ลดโรค (ความดัน เบาหวาน) เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 70

136.00 95.20
2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้โดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพ

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้การดูแลสุขภาพร้อยละ 80

136.00 18.80

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 136
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจง ประชุมย่อย ติดตามเยี่ยม และถอดบทเรียนจากการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและป่วย (เครือข่ายสุขภาพ) งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  80 คน x 25 บาท   เป็นเงิน  2,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เครือข่ายสุขภาพมีความเข้าใจและเกิดการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงาน
  2. ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ในแต่ละขั้นตอน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองตรวจโรคเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองตรวจโรคเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในกลุ่ม อายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  136 คน x 25 บาท  เป็นเงิน  3,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. พบกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
  2. มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อใช้ในการจัดอบรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3400.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาองค์ความรู้และการเฝ้าระวังโรค

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาองค์ความรู้และการเฝ้าระวังโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค กิจกรรมปิงปอง 7 สี แก่ผู้ที่มีความเสี่ยง ผู้ป้วย และผู้ดูแล งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม  60 คน x 60 บาท เป็นเงิน  3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  60 คน x 35 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าวิทยาการ 3 ชม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  1,800 บาท
รวมเป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การรุกชุมชน ติดตามเยี่ยมบ้าน เสริมกำลังใจให้แก่กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วย เพื่อการตรวจวัดซ้ำนำไปสู่กระบวนการระบบส่งต่อในกรณีที่จำเป็น งบประมาณ - ไม่ต้องใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเครือข่ายสุขภาพกับกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วย
  2. สร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน
  3. ประชาชนมีความเป็นรักและห่วงใยกัน
  4. มีระบบส่งต่อที่ทันเวลา ตามขั้นตอนอย่างทันท่วงที
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมแกนนำ เครือข่ายสุขภาพ เพื่อเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ
2. คัดกรองโรคความดัน เบาหวาน ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่
3. พัฒนาองค์ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง โดยการจัดกิจกรรม ปิงปอง จราจร 7 สี อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่
4. การรุกชุมชน ติดตามเยี่ยมบ้าน เสริมกำลังใจให้แก่กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วย
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
2. เกิดการพัฒนาการดำเนินงานปิงปอง 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ในประชาชนทั่วไป
3. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


>