กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดเสี่ยง ลดโรค (ความดัน เบาหวาน) คลองรี ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3065-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสามสมัครสาธารณสุข ม.1 บ้านคลองรี
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮะสือนะ มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านคลองรี ม.1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.859305,101.177098place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 136 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
136.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
136.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างการ เช่น ตา ไต หลอดเลือดสมอง ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านาการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งทางการตลาด การสื่อสารและการการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ปัจจุบันและอนาคตปัญหาสุขภาพดูแนวโน้มแล้วปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน เป็นสำคัญ จากข้อมูลการคัดกรองเบื้องต้นของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยชมรมอสม. หมู่ที่ 1 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2563 – 2565 พบว่า
1. ผู้มีภาวะเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงในปี พ.ศ. 2563 คิดเ ป็นร้อยละ 23.14 (จำนวน 121 เสี่ยง 28) ปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 24 (จำนวน 75 เสี่ยง 18)และปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 26.72 (จำนวน 116 เสี่ยง 31) 2. ผู้มีภาวะเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานปี พ.ศ. 2563 คิดเ ป็นร้อยละ 6.61 (จำนวน 121 เสี่ยง 8) ปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 6.67 (จำนวน 75 เสี่ยง 5)และปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 7.76 (จำนวน 116 เสี่ยง 9)
จากข้อมูลการคัดกรองเบื้องต้นดังกล่าวประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีความจำเป็นและสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะควบคุมหรือเฝ้าระวังโรคความดันและเบาหวาน โดยการส่งเสริมองค์ความรู้หรือกิจกรรมต่างๆเพื่อลดอัตราความเสี่ยงที่เกิดเป็นโรคความดันและเบาหวานต่อไป ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคลองรี หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้ทำโครงการลดเสี่ยง ลดโรค (ความดัน เบาหวาน) เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 70

136.00 95.20
2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้โดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพ

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้การดูแลสุขภาพร้อยละ 80

136.00 18.80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 พัฒนาการมีส่วนร่วม 0 2,000.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 คัดกรองตรวจโรคเบื้องต้น 0 3,400.00 -
1 - 31 ก.ค. 66 พัฒนาองค์ความรู้และการเฝ้าระวังโรค 0 9,600.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
  2. เกิดการพัฒนาการดำเนินงานปิงปอง 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ในประชาชนทั่วไป
  3. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 11:32 น.