กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กตำบลปิตูมุดี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

PCU รพ.ยะรัง

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคมือ เท้า ปากเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ติดต่อจากคนสู่คนโดยเฉพาะในเด็กเล็ก มักพบในช่วงฤดูฝนสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรหลายชนิดอาจมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันแต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่นการล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่ายรวมถึงการไม่คลุกคลีใกล้ชิดแลละใช้ของร่วมกับผู้ป่วยร่วมกับการรักษาความสะอาดทั่วๆ ไป การจัดการสิ่งแวดล้อม ห้องน้ำห้องส้วม ห้องครัวห้องเรียนให้ถูกสุขลักษณะสุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้ปัญหาโรคมือ เท้า ปากนั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งสุขภาพร่างกายและการหยุดเรียนของเด็กแต่ปัญหาโรคมือ เท้า ปากเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและควบคุมได้เพื่อไม่ให้ลุกลามและรุนแรงต่อไป โดยต้องอาศัยการดูแลความสะอาดจากผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กประกอบกับเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมในการปลูกฝังสุขนิสัยการล้างมือที่ถูกวิธีทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารละหลังการขับถ่าย
จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) อำเภอยะรัง ปี2565 มีผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 23.33. ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และ ตำบลปิตูมุดี
มีผู้ป่วยจำนวน 6 ราย อัตราป่วย 96.77 ต่อประชากรแสนคนมีแนวโน้มการระบาดของโรค เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลยะรังได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปิตูมุดี จึงได้จัดทำโครงการ“เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก ตำบลปิตูมุดี ปี2566 ” ขึ้น เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
2. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปากและร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากในเด็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1.ผู้ปกครอง 100
2.ครูผู้ดูและเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก 5
3.แกนนำชุมชน 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากในเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากในเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชุมชี้แจง เพื่อจัดทำโครงการฯ 2. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง / ครูผู้ดูแลเด็กและแกนนำชุมชน เรื่องการป้องกันและควบคุม โรคมือ เท้าปาก 3. สอนทักษะการล้างมือที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองและเด็กเล็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากโรคมือ เท้า ปาก
  2. ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
  3. แกนนำชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปากและสามารถคักกรองโรคมือเท้าปากในชุมชนได้
  4. สามารถส่งเสริมกิจกรรมเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปากซึ่งเป็นโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการการป้องกันควบคุมโรคมือท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในชุมชน พร้อมติดตามตรวจสุขภาพเด็กในศูนย์เด็กเล็กตำบลปิตูมุดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการการป้องกันควบคุมโรคมือท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในชุมชน พร้อมติดตามตรวจสุขภาพเด็กในศูนย์เด็กเล็กตำบลปิตูมุดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในชุมชน 2. จัดกิจกรรมการตรวจสุขภาพให้กับเด็กเล็กในชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลปิตูมุดี 3.ติดตามเด็กในเรื่องความสะอาดและตรวจสุขภาพทุกเช้าก่อนเริ่มทำการเรียนการสอน ทุก ๆ วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถเผยแพร่คำแนะนำ การดูแลสุขภาพ เรื่องโรคมือ เท้าปาก แก่ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองนักเรียน
  2. สามารถส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะการล้างมือ และการรักษาสุขอนามัยสภาพแวดล้อม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากโรคมือ เท้า ปาก
2. ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
3. แกนนำชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
และสามารถคักกรองโรคมือเท้าปากในชุมชนได้
4. สามารถส่งเสริมกิจกรรมเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปากซึ่งเป็นโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5. สามารถเผยแพร่คำแนะนำ การดูแลสุขภาพ เรื่องโรคมือ เท้าปาก แก่ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองนักเรียน
6. สามารถส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะการล้างมือ และการรักษาสุขอนามัยสภาพแวดล้อม


>