กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กตำบลปิตูมุดี ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3030-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ PCU รพ.ยะรัง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอิบตีซาม เจ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมือ เท้า ปากเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ติดต่อจากคนสู่คนโดยเฉพาะในเด็กเล็ก มักพบในช่วงฤดูฝนสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรหลายชนิดอาจมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันแต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่นการล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่ายรวมถึงการไม่คลุกคลีใกล้ชิดแลละใช้ของร่วมกับผู้ป่วยร่วมกับการรักษาความสะอาดทั่วๆ ไป การจัดการสิ่งแวดล้อม ห้องน้ำห้องส้วม ห้องครัวห้องเรียนให้ถูกสุขลักษณะสุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้ปัญหาโรคมือ เท้า ปากนั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งสุขภาพร่างกายและการหยุดเรียนของเด็กแต่ปัญหาโรคมือ เท้า ปากเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและควบคุมได้เพื่อไม่ให้ลุกลามและรุนแรงต่อไป โดยต้องอาศัยการดูแลความสะอาดจากผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กประกอบกับเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมในการปลูกฝังสุขนิสัยการล้างมือที่ถูกวิธีทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารละหลังการขับถ่าย จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) อำเภอยะรัง ปี2565 มีผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 23.33. ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และ ตำบลปิตูมุดี มีผู้ป่วยจำนวน 6 ราย อัตราป่วย 96.77 ต่อประชากรแสนคนมีแนวโน้มการระบาดของโรค เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลยะรังได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปิตูมุดี จึงได้จัดทำโครงการ“เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก ตำบลปิตูมุดี ปี2566 ” ขึ้น เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากในเด็ก 0 17,100.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการการป้องกันควบคุมโรคมือท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในชุมชน พร้อมติดตามตรวจสุขภาพเด็กในศูนย์เด็กเล็กตำบลปิตูมุดี 0 7,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากโรคมือ เท้า ปาก
  2. ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
  3. แกนนำชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และสามารถคักกรองโรคมือเท้าปากในชุมชนได้
  4. สามารถส่งเสริมกิจกรรมเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปากซึ่งเป็นโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  5. สามารถเผยแพร่คำแนะนำ การดูแลสุขภาพ เรื่องโรคมือ เท้าปาก แก่ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองนักเรียน
  6. สามารถส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะการล้างมือ และการรักษาสุขอนามัยสภาพแวดล้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2566 00:00 น.