กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูรักษ์ ฟ.ฟัน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยความเจริญทางด้านเทคโลโลยี ความทันสมัยทำให้เด็กไทยในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุสิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อกโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไป จะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันและสภาวะเหงือกอักเสบ ซึ่งปัญหานี้มักจะเกิดกับเด็กปฐมวัยเป็นส่วนมากและเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดู เนื่องจากการรักษาโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยทำได้ยาก เพราะเด็กให้ความร่วมมือน้อย แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยนี้ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพหากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ เด็กปฐมวัยยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้มากนัก ในการพัฒนาด้านใดๆก็ตามของเด็กวัยนี้ต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้กับเด็ก จึงเหมาะแก่การปลูกฝังและส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพ การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฎิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีแรงจูงใจและการกระทำร่วมกัน ระยะแรกผู้ปกครองต้องแปรงฟันให้เด็กก่อน เมื่อเด็กมีกำลังข้อมือและเท้าที่แข็งแรงสามารถกระตุ้นให้เด้กแปรงฟันเองและตรวจดูความสะอาดของช่องปากเด็กทุกครั้ง การดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่เยาว์วัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้เด็กเติบโตมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงและสวยงาม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการหนูรักษ์ ฟ.ฟัน ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองตระหนักถึงการมีทันตสุขภาพที่ดีของเด็กตั้งแต่เยาว์วัยและส่งเสริมการสร้างสุขนิสัยที่ถูกต้องในการบริโภคเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเด็กปฐมวัยที่มีฟันผุที่ลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพภายในช่องปากอย่างถูกวิธี

เด็กปฐมวัยร้อยละ 90 ได้รับการส่งเสริมสุขภาพภายในช่องปากอย่างถูกวิธี

72.00 72.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญการดูแลสุขภาพภายในช่องปากอย่างถูกวิธี

ผู้ปกครองร้อยละ 90 มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญการดูแลสุขภาพภายในช่องปากอย่างถูกวิธี

72.00 72.00
3 เพื่อส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาช่องปากรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

ผู้ปกครองร้อยละ 90 ดูแลนักเรียนได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทันตกรรม

72.00 72.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน 2.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหาดสำราญ 3.ประสานวิทยากรในการฝึกอบรม 4.จัดทำเอกสารเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมโครงการ 5.ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง 6.ตรวจสุขภาพภายในช่องปากเด็กปฐมวัย
   - เคลือบฟลูออไรด์วานิช    - สาธิตการแปรงฟัน    - ผู้ปกครองแปรงฟันให้กับนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพภายในช่องปากที่ดีขึ้นและแปรงฟันอย่างถูกวิธี
2.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพภายในช่องปากอย่างถูกวิธี


>