กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาที่ให้การเตรียมความพร้อมแก่เด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียนเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ ๒ ถึง ๕ ปี เป็นวัยที่ถือว่า “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ” ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยทารก ก้าวสู่ความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ สังคมที่กว้างออกไปจากครอบครัว เราจึงควรเข้าใจในพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการให้ถูกวิธี มีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน อันจะช่วยให้เด็ก เกิดการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม เด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ ๕ ปี เป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของชีวิตที่สมองมีการเจริญเติบโตมากกว่าทุกๆ ช่วงอายุ และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปูพื้นฐานทักษะต่างๆ ให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นแนวคิดด้านหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัย และการเรียนนั้นเราไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเสมอไปเด็กจะต้องได้รับประสบการณ์จากสถานที่จริงบ้าง
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ๒-๕ ปี ขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้สถานที่ใหม่ๆ ได้รับประสบการณ์ตรงจากสถานที่จริง สร้างสรรค์การเห็นคุณค่าของตนเอง และสร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัวและสังคม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูผู้ดูแลเด็ก,ผู้ปกครอง และสอดคล้องตามหลักสูตรสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่กำหนดให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดการเรียนรู้และกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กและมีความหลากหลาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัย 2-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

เด็กปฐมวัยร้อยละ 90 ได้รับการกระตุ้นและการฝึกพัฒนาการที่ถูกวิธี

72.00 0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีวิธีการที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2 - 5 ปี ให้มีความพร้อมก่อนไปสู่สังคม

ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างถูกวิธี

72.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและกิจกรรมนันทนาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและกิจกรรมนันทนาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ คณะครูผู้ดูแลเด็ก ฯและผู้เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.หาดสำราญ
  3. ประสานวิทยากร สถานที่ และอื่นๆในการจัดกิจกรรมฝึกอบรม
  4. ทำเอกสารเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมโครงการ กำหนดวันเวลา และสถานที่ให้ผู้ปกครองทราบ 5 .ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมอบรมให้ความรู้ครูและผู้ปกครองจำนวน ๘๐ คน
        - จัดกิจกรรมตามกำหนดโครงการ อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียน เด็กปฐมวัยในช่วงอายุ ๒ - ๕ ปี ในเรื่องดังต่อไปนี้ 5.1 พัฒนาการตามวัยเด็ก
    5.2 การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
    5.3 การประเมินพัฒนาการเด็ก
    5.4 ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
    5.5 การตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก
          - กิจกรรมเติมรักให้กับครอบครัว(กิจกรรมนันทนาการ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ให้เด็ก 2 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย คิดเป็น ร้อยละ 90
2.ให้เด็ก 2 – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมคิดเป็น ร้อยละ 85
3.เด็ก 2 – 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการ
รักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
4.ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2 – 5 ปี


>