กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชน ร่วมลดขยะมุูลฝอย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด

ตำบลบ้านโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและดำเนินการในการเก็บ ขน กำจัดขยะแล้วก็ตาม แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะ ขาดการคัดแยกขยะที่ต้นทาง
จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสงขลาสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลโดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทยเพื่อคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะของครัวเรือนในระดับท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด มีพื้นที่ 67.48 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 6,762 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 1,744 หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2565) จากการเก็บข้อมูลปริมาณขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ในปี พ.ศ. 2565 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ย 0.99 ตันต่อวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนดต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และมีการกำจัดไม่ถูกวิธี เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพของประชาชนจากขยะมูลฝอย และมุ่งเน้นให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หน่วยงานราชการและโรงเรียนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการรวมพลังชุมชน ร่วมลดขยะมูลฝอย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะและการคัดแยกขยะแต่ละ

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

 

0.00
3 เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะจากต้นทาง

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน สร้างต้นแบบในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปขยายผลการดำเนินการในพื้นที่

 

0.00
5 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการเก็บ ขน และการนำไปกำจัด และมีการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก

 

0.00
6 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2023

กำหนดเสร็จ 23/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันในการจัดการขยะ
    • อบรมให้ความรู้เรื่อง การจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์ โดยใช้หลัก 3 Rs (Reduce Reuse Recycle)      - อบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและการนำขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์
  • การสาธิตการจัดทำ น้ำหมักชีวภาพและ EM ball พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติจริง
  • การสาธิตการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และลงทะเบียนรับถังเพื่อนำไปจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน โรงเรียน วัด มัสยิด และหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 23 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะและการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
2. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน
3. ประชาชนมีการคัดแยกขยะจากต้นทาง
4. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและมีต้นแบบในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปขยายผลการดำเนินการในพื้นที่
5. ประชาชนมีการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการเก็บ ขน และการนำไปกำจัด และประชาชนมีการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก
6. ชุมชนมีส่วนร่วมของในการจัดการขยะ


>