กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชน ร่วมลดขยะมุูลฝอย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รหัสโครงการ 66-L5258-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2566 - 23 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 พ.ค. 2566 23 พ.ค. 2566 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและดำเนินการในการเก็บ ขน กำจัดขยะแล้วก็ตาม แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะ ขาดการคัดแยกขยะที่ต้นทาง จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสงขลาสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลโดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทยเพื่อคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะของครัวเรือนในระดับท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด มีพื้นที่ 67.48 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 6,762 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 1,744 หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2565) จากการเก็บข้อมูลปริมาณขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ในปี พ.ศ. 2565 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ย 0.99 ตันต่อวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนดต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และมีการกำจัดไม่ถูกวิธี เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพของประชาชนจากขยะมูลฝอย และมุ่งเน้นให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หน่วยงานราชการและโรงเรียนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการรวมพลังชุมชน ร่วมลดขยะมูลฝอย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะและการคัดแยกขยะแต่ละ

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

 

0.00
3 เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะจากต้นทาง

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน สร้างต้นแบบในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปขยายผลการดำเนินการในพื้นที่

 

0.00
5 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการเก็บ ขน และการนำไปกำจัด และมีการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก

 

0.00
6 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะและการคัดแยกขยะแต่ละ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะจากต้นทาง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน สร้างต้นแบบในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปขยายผลการดำเนินการในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการเก็บ ขน และการนำไปกำจัด และมีการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 6 : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

22 - 23 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ 100,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะและการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
    1. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน
    2. ประชาชนมีการคัดแยกขยะจากต้นทาง
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและมีต้นแบบในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปขยายผลการดำเนินการในพื้นที่
  3. ประชาชนมีการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการเก็บ ขน และการนำไปกำจัด และประชาชนมีการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก
    1. ชุมชนมีส่วนร่วมของในการจัดการขยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 00:00 น.